สุวรรณภูมิ หรืออุษาคเนย์ เป็นดินแดนอยู่ระหว่างอนุทวีป(อนุภพ)และบูรพาทวีป(ภูมิตะวันออก) พื้นที่สุวรรณภูมิ ตามภูมิศาสตร์แบ่งได้เป็นสองส่วนคือแผ่นดินใหญ่เรียกว่า สุวรรณภูมิ และส่วนที่เป็นแหลมคาบสมุทรและหมู่เกาะต่างๆ เรียกว่า ดินแดนเกษียรสมุทร ประชากรยุคเริ่ม แรกของสุวรรณภูมิส่วนใหญ่คือชนเผ่านาคา และกลุ่มชาติพันธุ์แขกดำ ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งผืนแผ่นดินใหญ่ วิถีชีวิตชน เผ่านาคา แยกได้สองกลุ่ม พวกนาคลุ่มหรือนาคดินที่มีถิ่นทึ่อยู่ตามลุ่มน้ำ ชนเผ่านาคาเริ่มมีวิวัฒนาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หาปลา ในขณะที่นาคเทิงหรือนาคฟ้าที่อาศัยบนที่สูงยอดดอย ทำไร่นาสวนผสมแบบหมุนเวียน ส่วนพวกแขกดำ ยังดำรงชืวิตโดยการเก็บ ของป่า ล่าสัตว์ ขุดเผือก ขุดมัน เป็นอาหาร ส่วนดินแดนเกษียรสมุทร มีกลุ่มชาวเล ที่อาศัยตามชายฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ พวก ชาวเลมีความชำนาญในการออกเรือ หาปลา ทำประมงชายฝั่งทะเลและตามเกาะต่างๆ ช่วงฤดูมรสุมพวกชาวเลมักพำนักประจำที่ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ รวมกันเป็นหมู่บ้านชายฝั่งทะเล ชนเผ่าที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทั้งสองส่วน ต่างนับถือผีธรรมชาติ ผีบรรพชน โดยมีหมอผีประจำเผ่า หัวหน้าเผ่าเป็นผู้ที่แข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจและชนเผ่าต่างมีวิธีและพิธีกรรมการคัดเลือกหัวหน้าที่แตก ต่างกัน การอยู่ร่วมกันมีกฎ ข้อตกลงร่วมกันภายใต้ผีเป็นผู้สร้างกฎ ผู้นำใช้อำนาจได้ตามกฎ มีหมอผีเป็นผู้คุ้มกฎ หากมีข้อขัดแย้ง กัน มักใช้พิธีกรรมแห่งผีธรรมชาติ หรือการเสี่ยงทาย หากข้อขัดแย้งรุนแรงสุดท้ายจบลงด้วยการใช้กำลัง บางครั้งรุนแรงถึงชีวิต ชน เผ่าต่างๆ อยู่กันอยู่อย่างอิสระเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมากมักไม่เกิน ๑๕๐ คน ชนเผ่าบนผืนแผ่นดินใหญ่และดินแดนเกษียรสมุทร ไม่มี ความสัมพันธ์ ใดๆต่อกันเลย เนื่องจากวิถีชีวิตและถิ่นที่อยู่อาศัยห่างกันมาก
การเปลี่ยนผ่านช่วงที่ ๑
บูรพาทวีปหรือภูมิตะวันออก เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาวเจ็ก ที่มีวิวัฒนาการยุคสำริด เริ่มมีการรวมตัวเป็นเมืองหรือนครรัฐ มีผู้ปกครองและประชาชนผู้อยู่ ภายใต้การอารักขาคุ้มครองตามเขตแดนแว่นแค้นต่างๆ มีระบบการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธจากโลหะ สำริด มีการสร้างประดิษฐ์ตัวอักษรใช้สื่อสาร มีระบบเงินตรา การเก็บส่วย ภาษี การเกณฑ์แรงงานไปเป็นไพร่ รับใช้เจ้าผู้ครองนครและพวกขุนนางเป็นช่วงเวลา ชนชาวเจ็ก นั้นไม่ใช่ชื่อชนเผ่า แต่เป็นการเรียกตัวเองของ ประชาชนทุกชนเผ่าที่ยอมรับการปกครอง เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบนครรัฐ ทั้งนี้ ในดินแดนบูรพาทวีป มีนครรัฐต่างๆ มากมาย แต่ละนครรัฐต่างมุ่งขยายอาณาเขตตนเองและ กวาดต้อนผู้คนเข้าเป็นประชาชนในปกครองของนครรัฐตนเอง นครรัฐต่างๆล้วนต้องผ่านการเกิดขึ้น การเจริญรุ่งเรื่อง และการเสื่อมถอย สิ้นสุดแตกสลายนครรัฐ เป็นวัฏจักร จนกระทั่ง ชาวเจ็กได้วิวัฒนาการปกครองสู่ระบบ อาณาจักร จึงเกิดสงครามระหว่างนครรัฐ ต่างๆ อยู่เป็นประจำจนกระทั่ง ยุคสมัยราชวงศ์จิ๋น ผู้นำนครรัฐที่มากความสามารถ ได้ให้กำเนิดระบบการปกรองแบบจักรพรรดิ์ ที่ เป็นราชาเหนือราชา แผ่ขยายอำนาจทั่วทั้งบูรพาทวีป รวมนครรัฐต่างๆเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้องค์จักรพรรดิ์ ที่เป็นดั่งโอรส สวรรค์ เรียกว่า ฮ่องเต้ และเรียกผู้ครองนครรัฐภายใต้การปกครองในอาณาจักรว่าอ๋องและมองว่าชาวชนเผ่าต่างๆ เป็นพวกป่าเถื่อน
ดินแดนตอนใต้ ของบูรพาทวีป มีชนเผ่าอ้ายไตลาว ที่สืบเชื้อสายชาติพันธุ์ เผ่านาคา ในดินแดนสุวรรณภูมิที่ได้อพยพขึ้นเหนือ ตามลำน้ำและขุนเขาไปสู่ดินแดนตอนใต้บูรพาทวีป และได้รับอิทธิพล การสร้างนครรัฐจากบูรพาคติ มีการวิวัฒนาการ สร้างบ้าน แปงเมืองเป็น นครรัฐ ที่เป็นเอกลักษณ์ ในแบบชาวอ้ายไตลาว ที่มีชนเผ่านาคาเป็นกลุ่มใหญ่ มีความเจริญด้านสังคม หมู่บ้าน ชุมชน เมือง ที่เรียกว่า “การสร้างบ้านแปงเมือง” ทำเษตรกรรม ปลูกข้าวนาดำ กินข้าวเหนียวเป็นหลัก นับถือผีฟ้า หรือแถน และผีบรรพชน มีผู้หญิงเป็นใหญ่ในครอบครัว ลูกคนโตและคนรองลงไปจะต้องแยกตัวไปสร้างครอบครัวใหม่ ลูกคนเล็กสุดท้องจะรับภารกิจดูแล ครอบครัวแทนพ่อแม่สืบไป และด้วยวัฒนธรรมออกเรือนดังกล่าว ส่งผลให้ลูกหลานชาวอ้ายไตลาว ได้ออกสำรวจดินแดนใหม่เพื่อ สร้างบ้านแปงเมืองใหม่ ทั่วทั้งดินแดนสุวรรณทวีป ตั้งแต่เหนือจดใต้ และตะวันออกยันตะวันตกเรียกว่า โซเมีย(Zomia) ก่อเกิด นครรัฐชนชาวอ้ายไตลาวเป็นใหญ่ปกครองมากมาย อย่างไรก็ตาม นครรัฐสำคัญที่เก่าแก่ที่รวมเป็น อาณาจักรเริ่มแรกของชาวอ้าย ไตลาว คือ นครปา นครลุงและนครเงี้ยว สิ้นสุดในช่วงเวลาหนึ่ง ... เปลี่ยนผ่านสู่ นครรัฐเพงาย ที่สิ้นสุด ในช่วงเวลาอีกหนึ่ง ภายหลังมีการผสม ผสานเหล่าชาติพันธุ์ สายเลือดอ้ายไตลาว กับคนพื้นเมืองต่างๆในแถบดินแดนต่างๆ รวมกันเป็นอาณาจักรอ้ายไตลาว ที่รวมนครรัฐ ๖ นครรัฐที่มีศูนย์กลางที่เมืองหนองแสทั้งนี้อาณาจักรชาวอ้ายไตลาว มีรูปแบบการปกครองที่มีความสัมพันธ์ระหว่างนครรัฐเป็นอาณาจักรแบบสหพันธรัฐ ไม่ใช่เป็นจักรวรรดิ์แบบ ชนชาวเจ็ก ต่อมาที่นครรัฐของชาวอ้ายไตลาวรวม เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรน่านเจ้าหรือหนานเจ้า ที่มีความเจริญเป็นปึกแผ่นเทียบเท่าอาณาจักรชาวเจ็ก อย่างไรก็ตาม การรุกรานขยายอำนาจและอาณาเขตของชาวเจ็กนำสู่ การแตกแยกอาณาจักรน่านเจ้า จนเหลือเพียงอาณาจักรต้าลี่ ที่ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมพวกเจ็กแม้จะฟื้นฟูกลับมาแต่ไม่หลงเหลือ วัฒนธรรมโซเมียในเขตตอนใต้บูรพาทวีป ทั้งนี้สงครามการรุกรานส่งผลให้ชาวอ้ายไตลาวส่วนใหญ่ไ้ด้อพยพลงใต้หลายระรอก รวมกันกับนครรัฐชาวอ้ายไตลาวในดินแดนสุวรรณภูมิ เกิดเป็นอาณาจักรสุวรรณภูมิตามแนวพื้นที่โซเมีย ระยะเริ่มแรก ประกอบด้วยแคว้นนาคดิน(ศรีโครตบูรณ์ยุคแรก) และแคว้นนาคฟ้า(กิมหลินหรืออู่ทอง) แล้ววิวัฒนาการตามวิถีสร้างบ้านแปงเมืองขยายตัวแว่นแคว้น ชาวอ้ายไตลาวกลุ่มพูดภาษาไท-กะได สำเนียงไทหรืออ้ายลาว ผสมผสานชาติพันธุ์พื้นเมืองเดิมอื่นๆในสุวรรณภูมิ เกิดเป็นอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ณ ดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนบนกับ อาณาจักรอ้ายลาว ณ ดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนกลาง และดินแดนคาบสมุทรแหลมทองเป็นอาณาจักรชวาทวีปและนาคน้ำหรืออาณาจักรเทียน เมื่อรวมกับนาคดินกับนาคฟ้า เป็น ๔ แว่นแคว้นภายใต้ชื่อใหม่ สหราชอาณาจักรเทียน หรือสหราชอาณาจักรแห่งแถน
ต่อมามีการการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดของชาวอ้ายไตลาว เนื่องจากเกิดหลังสงครามโพกผ้าเหลืองที่ชาวเจ็กเรียกกบฎโพกผ้าเหลือง ทำให้ชาวอ้ายไตลาวและพี่น้องร่วมอาณาจักรต้องเสียชีวิตหลายแสนคนและทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพชาวอ้ายไตลาว สู่ดินแดนสุวรรณภูมิแดนต้นกำเนิดบรรพชนดึกดำบรรพ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดินแดนสุวรรณภูมิอย่างมากในระยะต่อมา ซึ่งภายหลังการยพยพใหญ่ดังกล่าว กลุ่มพูดสำเนียงไตลาวเหนือหรืออ้ายไต เกิดแว่นแคว้นชาวอ้ายไตลาวใหม่คือ ไตยวนโยนก(เชียงแสน) ไตลื้อสิบสองปันนา (เชียงรุ่ง) และไตใหญ่หรือลาวคำหลวงหรือไตฉาน (เชียงตุง) รวมกันเป็นอาณาจักรยวนโยนกเชียงแสนและเป็นพันธมิตรเครือญาติกับแว่นแคว้นเดิมคือไตลาวชบา (เชียงทอง)แห่งอาณาจักรอ้ายลาว ส่วนดินแดนด้านตะวันออกเฉียงใต้แถบลุ่มน้ำโขงตอนล่างรอบโตนเลสาปและปากน้ำโขง เป็นแคว้นคามลังกาและแคว้นจุลนี ขณะที่อาณาจักรนาคดินได้แบ่งเป็นอิสานปุระและศรีโคตรบูร ส่วนอาณาจักรเทียน(แถน) ปรับเปลี่ยนสู่อาณาจักรเทียนสน ที่มีแคว้นเทียนสน เป็นเมืองนครหลวง หรือเป็นสหราชอาณาจักรเทียนสน
ในช่วงเวลาเดียวกัน ณ ดินแดนเกษียรสมุทร ได้มีคลื่นผู้อพยพจากอนุทวีปหรืออนุภูมิ ได้แก่ ชาวทมิฬ โจฬะ กลิงค์ และอาแจะ กลุ่มชนเหล่านี้ได้ผสมผสานชาวพื้นเมืองแขกดำ ยึดครองพื้นที่ดินแดนเกษียรสมุทร ซ่องสุมกำลังอาวุธต่างๆ เข้าโจมตีชุมชน บ้านเมืองในเขตปกครองชาวอ้ายไตลาว หลายครั้งหลายครา แต่ไม่อาจต้านทานความแข็งแกร่งของกำลังชาวอ้ายไตลาวได้ จน กระทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญ ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มหาราชาแห่งอนุภูมิ ได้ทำสงครามขยายอาณาจักรทำให้พวกทมิฬ โจฬะอพยพมาเพิ่มสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มกบฎแดนเษียณสมุทร และในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรเจ็กซึ่งมีความเจริญ ในบูรพาทวีปหรือภูมิตะวันออก ต้องการลดอำนาจสหราชอาณาจักรเทียนสน จึงสนับสนุนกลุ่มกบฎดินแดนเกษียณสมุทร จนสามารถตั้งอาณาจักรโจฬะ ณเกาะ สุมาตรา อาณาจักรอาแจะ ณ เกาะชบา และอาณาจักรกลิงค์ ณ ดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตก อย่างไรก็ตามอีกด้านหนึ่งพระเจ้า อโศกมหาราช ได้เผยแพร่ขยายพระพุทธศาสนาสู่สุวรรณภูมิ แม้ว่า ยุคนี้พระพทธศาสนาจะยังไม่ฝังลึกในจิตชาวอ้ายไตลาว แต่ก็ส่ง อิทธืพลในกลุ่มผู้ปกครองนครรัฐสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการปกครองแบบมหาราชา และอิทธิพลการค้าขายทางทะเลที่มีการเดินเรือ สินค้าตามแนวชายฝั่งส่งผลให้ อาณาจักรในสุวรรรณภูมิเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ... โดยอาณาจักรเทียนสนได้มีการเปลี่ยนแปลง มีการ ผสมผสาน ความเชื่อผี พราหมณ์ และพุทธมหายาน มีความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ การค้าทางทะเลที่เชื่อมโยงกับผืนดินสุวรรณประเทศคืออาณาจักรศรีโคตรบูร อาณาจักรอิศานปุระ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอ้ายลาว และพัฒนาการเมืองการปกครองนำสู่การเป็นสหราชอาณาจักร เจริญสืบต่อมา จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดแห่งยุคคือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ...ที่มีขุนเทียน หรือท้าวพันตา เป็นมหาราชา ...
การเปลี่ยนผ่านช่วงที่ ๒
อย่างไรก็ตาม การปกครองแบบสหราชอาณาจักรคีรีรัฐของชาวอ้ายไตลาว เริ่มสั่นคลอนจากภายในที่เริ่มจาก กลุ่มพราหมณ์และพ่อค้าเริ่มแทรกแซงราชสำนักโดยมีการสร้างสัมพันธ์แบบไกล้ชิดโดยการยกลูกหลานให้แต่งงานกับมหาราชา หรือราชานครรัฐ ต่างๆ จนเกิดความแตกแยกในกลุ่มแว่นแคว้นนครรัฐในอาณาจักร และในสหราชอาณาจักรก็เริ่มแตกกันเป็นสายราชวงค์ต่างๆตาม บรรดามเหสีขององค์มหาราชาขุนเทียน คือราชวงศ์ ไศเรนทร์วงศ์ ราชวงศ์อู่ทองหรือกิมหลิน ราชวงศ์หยางโคตมะ ราชวงศ์โคตมะ ราชวงศ์ขุนหลวงจิวใหญ่ และราชวงศ์เทียนเสน จากเดิมสืบอำนาจการปกครองตามโบราณราชประเพณี เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในราชสำนักหลังรัชสมัยขุนเทียนเกิดศึกภายในแบ่งแยกเป็น ๔ กลุ่มคือท้าวพันวัง ท้าวพันจัน(สายโคตมะและโจฬะบก) ท้าวเสนะราช(เทียนเสนสายอ้ายไตลาว)และท้าวจิตเสน(สายกลิงค์โจฬะ หรืออิศานปุระ) ต่อมาท้าวพันวังสมคบกับอาณาจักรเจ็ก(ยุคซุนกวน ก็กอู๋) ก่อกบฎ ท้าวพันวังแพ้ต้องหนีไปอยู่กับพวกโจฬะน้ำ ได้ร่วมมือกับพวกโจฬะน้ำก่อสงครามกับคีรีรัฐ ครั้งนี้อาณาเทียนเสนพ่ายแพ้ จนกระทั่งในที่สุดสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกเป็น อาณาจักรฟูนันหรือพนม และเทียนเสนหรือกิมหลินแห่งคีรีรัฐ โดยอาณาจักรฟูนัน เป็น ราชวงศ์สายโคตมะเป็นใหญ่ มีศูนย์กลางที่ คามลังกา นับถีอศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ส่วนเทียนเสน มีสายราชวงศ์เทียนเสนเป็นใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่กิมหลิน นับถือพุทธมหายาน สืบต่อสายเลือดหลักสายชาวอ้ายไตลาว เชื่อมโยงอิทธิพลการค้าภาค แผ่นดินสุวรรณภูมิตะวันตก กับอาณาจักรอิสานปุระ(ที่เป็นราชวงศ์อ้ายไตผสมกลิงค์เรียกว่ามอญ) ทางตะวันออกเฉียงเหนือหรือลุ่มน้ำชี น้ำมูล และทางเหนือกับหิรัญเงินยางของ ชนชาติมอญ ส่วนฟูนันเป็นสายเลือดผสมสายอินเดีย ที่มีอิทธิพลการค้าทางทะเลชายฝั่ง ที่มีจุดสำคัญที่ดินแดนคาบสมุทรแหลมทอง คือแคว้นโพธิ์สุทธิหรือคันธุลี และดินแดนแผ่นดินสุวรรณภูมิตะวันออก คือแคว้นคามลังกาและแคว้นโพธิหลวง ภายหลังที่คีรีรัฐแตก เป็น๒อาณาจักรดังกล่าวได้เกิดสงคราม พันทีมัน ระหว่างท้าวเสนะราชหรือเทียนเสนกับท้าวพันทีมัน จนในที่สุดฟูนันแตกเป็นสายกลุ่ม โจฬะบก กับโจฬะน้ำ ทำให้อ่อนแอลง เป็นช่วงเวลาเดียวกับเจ้าเสนเชน สายอ้ายไตลาว เข้มแข็งขึ้น ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสายอ้ายไตลาว ก่อสงครามกับราชวงศ์สายโจฬะบก ยึดโจฬะบกรวมเป็นอาณาจักรโพธิกลาง และย้ายแคว้นคีรีรัฐเดิม มาตั้งเป็นอาณาจักรโพธิสุทธิ ที่ปากอ่าวบ้านดอนเป็นพันธมิตรกับสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่วนพวกโจฬะน้ำล่าถอยไปร่วมกับกลุ่มทมืฬ โจฬะ ในดินแดน เกษียณสมุทร ต่อมาท้าวพันศรีเทพแห่งราชวงศ์สายโจฬะบกสมคบกับ เจ็กและโจฬะน้ำ ก่อสงครามยึดคืนพื้นที่เดิมของโจฬะบกได้ สำเร็จและเปลี่ยนเป็นอาณาจักรเจนละหรือคามลังกา ตั้งเมืองหลวงจากเมืองหริหรวย ที่ครองอำนาจเหนืออาณาจักรอื่นๆในดินแดน สุวรรณทวีป ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คงเหลือเฉพาะอาณาจักรโพธิสุทธิ ที่เป็นอาณาจักรในส่วนดินแดนแหลมทองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต่อมาท้าวจิตเสนแห่งแคว้นเศรษฐปุระในอาณาจักรอิสานปุระเปิดศึกภายใน ณ คามลังกาจนเกิด แผ่ขยายอำนาจแถบลุ่มน้ำมูล ได้รวมกันกับแคว้นละโว้เป็นอาณาจักรละไว้ ส่วนพยากงสายเลือดผสมกลิงค์อ้ายไตลาวหรือมอญร่วมก่อตั้งอาณาจักรทวายของชนชาติกลิงค์ มอญและขยายอาณาเขตเข้ามาดิน แดนด้านตะวันตกของสุวรรณทวีป สามารถยึดแคว้นอู่ทองหรือกิมหลินแห่งคีรีรัฐ และได้ร่วมกับอาณาจักรหิรัญเงินยางทางเหนือและอาณาจักรอิศานปุระที่ผนวกแคว้นละโว้ จัดตั้งสหราชอาณาจักรทวาราวดี มีศูนย์กลางที่นครพระธม หรือลุ่มน้ำท่าจีนแม่กลอง ที่เชื่อมโยงการค้าทางทะเลและทางบกสุวรรณภูมิไว้ได้ แต่ต่อมาได้ถูกตีโต้กลับจากอาณาจักรโพธิสุทธิ ในสงครามสมรภูมิ๗ตอแหล และสามารถยึดคืนแคว้นกิมหลินแห่งอาณาจักรคีรีรัฐ จับพยากงได้โดยพายกงสัญญาไม่ก่อสงคราม ยายหอมแม่นมของบุตรพยากงคือพยาพาน ได้ถวายพยาพานให้ท้าวอุเทนแห่งเทียนสน ไปเลี้ยงดูที่แคว้นเทียนสน พยาพานได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโพธินารายณ์ แล้วกลับมาปกครองแคว้นเคียนซา ต่อมาพระยากงผิดสัญญาร่วมมืออาณาจักรสายมอญคืออิศานปุระและหิรัญเงินยาง ก่อสงครามอีกครั้งเป็นสงครามพยากง-พยาพาน๑๒ ครั้ง สุดท้ายพยากงถูกฆ่าตายในสงคราม อาณาจักรทวารวดีล่มสลาย กลุ่มราชวงศ์สายมอญย้ายศูนย์กลางจากนครพระธมไปแคว้นละโว้ ที่รวมเข้ากับอิศานปุระ คามลังกา โพธิหลวงและอาณาจักรอื่นๆในเขตสุวรณภูมิตะวันออก รวมเป็นสหราชอาณาจักรคามลังกาหรือเจนละ ส่วนทวาราวดีหรือนครพระธมยุบรวมกับแคว้นกิมหลินสายราชวงศ์ชาวอ้ายไตลาว และกลุ่มเสียมกุกที่อพยพจากเชียงทองแห่งลุ่มน้ำโขง มีศูนย์กลางที่แคว้นราชคฤห์ รวมเป็นอาณาจักรอู่ทองหรือเสียม ต่อมาได้พัฒนาสู่การเป็นอาณาจักรสุวรรณภูมิหรือสุพรรณภูมิ ภายใต้การเป็นสหพันธรัฐกับอาณาจักรเจนละ ส่วนอาณาจักรสุวรรณโคมคำถูกอาณาจักรเจนละ บุกรุกทำลาย บางส่วนอพยพไปรวมกับอาณาจักรยวนโยนกเชียงแสน ที่ต่อมาอาณาจักรยวนโยนกเชียงแสนล่มสลายจากภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว ขณะที่อาณาจักรศรีโคตรบูร ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรเจนละและค่อยถูกรวมกับอาณาจักรอิศานปุระเดิม เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหนองหานหลวง และอาณาจักรอ้ายลาวรวมเข้ากับแคว้นจันทบุรีหรือเวียงจันทน์ ภายใต้การเป็นสหพันธรัฐกับอาณาจักรเจนละ และในส่วนอาณาจักรโพธิสุทธิ มีความเจริญทางการค้าทางทะเลและทัพเรือเทียบเท่าพวกจามได้เปลี่ยนสู่ยุคสมัยอาณาจักรศรีโพธิ์ ซึ่งยุคนี้แต่ละอาณาจักรต่างเป็นอิสระต่อกัน ไม่ใช่สหราชอาณาจักรคืรืรัฐอืกต่อไป
การเปลี่ยนผ่านระยะที่ ๓.๑
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงภายในอาณาจักรเจนละที่เกิดความแตกแยกภายใน กษัตริย์อ่อนแอ และถูกรุกรานจากอาณาจักรชวาทวีป และอาณาจักรจาม จนเกิดสภาพกลียุคแยกเป็นเจนละบก ที่อยู่เขตลุ่มน้ำมูลและเจนละน้ำที่อยู่ใต้อำนาจอาณาจักรชวาทวีปที่เป็นยุคเริ่มแรกที่ราชวงศ์ไศเรนทร์ซี่งต่อมาได้ครองอำนาจเหนือทุกอาณาจักรในปกครองของสหราชอาณาจักรศรีวิชัย จึงเป็นโอกาสกลุ่มพราหมณ์ศิวไกลวัลย์ และพ่อค้าจากอนุภูมิ กลุ่มใหม่ต้องการ อำนาจคุ้มครองการค้าจึงก่อกบฎกับกลุ่มราชวงศ์เดิม สนับสนุนพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นาม ชัยวรมันที่ ๒ ผู้ที่สืบเชื้อสายท้าวพันศรีเทพและถูกจับตัวเป็นประกันในดินแดนชวาทวีป ถือเริ่มต้นยุคเริ่มแรกก่อนนำสู่ความเจริญของเมืองพระนคร สถาปนาระบบ การเมืองการปกครองแบบใหม่ที่เป็นแบบเทวราช ชนชั้นกษัตริย์เป็นอวตารเทพ มาปกครองโลกมนุษย์ ตั้งเป็นราชอาณาจักรกัมพูชาหรือขแมร์ ที่มีจักรพรรดิ์แบบเจ็กแทนมหาราชาแบบอินเดียเดิม มีชนชั้นพราหมณ์ผู้ทำพิธีกรรม ทั้งนี้กษัตริย์ต้องทำ ตรีกรณียกิจ คือสนับสนุนการชลประทาน ยกย่องบิดามารดาและบรรพชน ที่สำคัญที่สุดคือการก่อสร้างเทวลัยบนภูเขา ทั้ง๓กรณียกิจต้องมีการ ก่อสร้างบาราย ปราสาทและวิหาร จึงต้องมีการระดมทรัพยากรและแรงงาน จึงเริ่มมีการนำระบบการค้าทาส เพิ่มจากเดิมระบบการ เกณฑ์แรงงานแบบไพร่ เริ่มมีการทำสงครามขยายอาณาเขตและการกวาดต้อนผู้คนมาเป็นแรงงานหรือทาส ทั้งนี้กลุ่มชนชั้นไพร่นั้น จะรับใช้พระราชกิจหรือขุนนาง และบางส่วนต้องรับใช้พวกชนชั้นพราหมณ์ ส่วนข้า ทาส บริวารนั้นถูกชนชั้นกษัตริย์ พราหมณ์ และ พ่อค้าไว้ในปกครองเพื่อใช้แรงงาน อย่างไรก็ตามแม้มีการแบ่งชนชั้นแต่ไม่ใช่วรรณะแบบอินเดีย ดังนั้น พราหมณ์บางกลุ่มก็สามารถ ยึดอำนาจสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ได้ แต่ยังกีดกันชนชั้นพ่อค้าไม่ให้ครองอำนาจเป็นกษัตริย์ ด้วยระบบการปกครองที่เป็นระบบ และการทหารที่เข้มแข็งเริ่มใช้ช้างศึก ม้าศึก ธนู แบบอินเดีย กลุ่มราชวงศ์กัมพูชาใหม่ครองอำนาจในดินแดนที่ราบลุ่มรอบโตนเลสาปหรือเจนละน้ำ ย้ายเมืองหลวง๔ครั้ง คือเมืองอินทรปุระ เมืองหริหราลัย เมืองอมเรศปุระ และในที่สุดสร้างเมืองมเหนทรบรรพต อยู่บนเขาพนมกุเลน และมีเมืองท่าออกแก้ว ควบคุมการค้าทางทะเล ส่วนการควบคุมการค้าทางบกนั้นได้ขยายอิทธิพลไปยึดละโว้ ยึดทั้งอิศานปุระ ส่งเครือญาติไปปกครองสร้างเมืองเป็นพิมาณปุระ พนมรุ้ง และสร้างเมืองลูกหลวงสุโขทัยเชื่อมโยงการค้ากับอ่าวเมาะตะมะและผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิตอนกลางตอนเหนือ มีการจัดระบบประเทศราช อาณาเขตด้านตะวันตกคือแคว้นอู่ทองหรือเสียมหลอหรือกิมหลินเดิม ด้านตะวันออกคือจามปาและเวียตน้ำหรืออันนัม ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ศรีโครตบูรและอิศานปุระบางส่วน ด้านตะวันออกตั้งเป็นแคว้นศรีสัตนาคนหุตหรือเวียงจันทน์ ดังกล่าวไปแล้ว ด้านเหนืออาณาจักรเชียงแสนหรือยวนโยนกและ หิรัญเงินยาง ส่วนดินแดนเป็นอิสระจากสหราชอาณาจักรขแมร์หรือกัมพูชา ได้แก่ ตอนเหนือคือหริภุญชัย ดินแดนคาบสมุทรแหลมทองคืออาณาจักรศรีโพธิ อาณาจักรลังกาสุกะ ดินแดนเกษียรสมุทรคืออาณาจักรอาแจะ และชวาทวีป ที่ต่อมาคาบสมุทรตอนใต้และหมู่เกาะในดินแดนเกษียนสมุทร รวมเป็นสหราชอาณาจักรศรีวิชัย ส่วนดินแดนชายทะเลตะวันตกได้แก่ อาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักร ศรีชาติตลู อาณาจักรโกสัมพี อาณาจักรอารกัน อาณาจักรทวาย และตะนาวศรี
ราชอาณาจักรขแมร์หรือกัมพูชาเจริญเข้าสู่สมัยเมืองพระนคร โดยยโสวรมันที่๑ ได้สร้างเมืองหลวงใหม่ ที่พนมบาเค็งชื่อ ยโศธรปุระ และอัญเชิญเทวราชจากหริหราลัยมายังนครแห่งใหม่และสร้างเทวาลัยที่พมนกัดาล หลังจากนั้นจักรวรรดิ์ขแมร์ก็เข้าสู่ ช่วงเสื่อมภายในราชสำนักแย่งชิงอำนาจของสายราชวงศ์ที่ต่างสายกัน จนกระทั่งสมัยชัยวรมันที่ ๔ ได้ฟื้นฟูราชประเพณี ตรีกรณียกิจ ที่สร้างบารายและปราสาทบนภูเขา เทวาลัยของพระรองปัจจุบันเรียกปราสาทธม ต่อมาสมัยชัยวรมันที่ ๕ เริ่มมีการสร้าง วิหารตนเองในหมู่ขุนนางและพราหมณ์ หลังจากนั้นจักรวรรดิ์ขแมร์ก็เข้าสู่ช่วงเสื่อมภายในราชสำนักแย่งชิงอำนาจอีกรอบโดยรอบนี้ ได้มีกษัตริย์องค์ใหม่ที่ไม่ทราบสายราชวงศ์แน่ชัดยึดอำนาจในจักรวรรดิขแมร์ในนาม สุริยวรมันที่ ๑ พระองค์ยกทัพมาทางเรือเข้า ยึดเมืองพระนคร พระองค์ทรงส่งเสริมพุทธศาสนามหายาน และมีความเจริญทางการค้าทั้งท้องถิ่นและโพ้นทะเล ถือว่าเป็นยุคเจริญ สูงสุดหลังยุคสุริยวรมันที่๑ สายราชวงศ์ต่างๆผลัดเปลี่ยนกันครองอำนาจจนกระทั่งกษัตริย์ชัยวรมันที่๖ เป็นเชื้อสายมหินธรปุระเข้า ยึดอำนาจแต่ไม่นาน กษัตริย์ใหม่นาม สุริยวรมันที่ ๒ ได้ยึดครองอำนาจในยุคสมัยรวมขแมร์เป็นหนึ่งเดียวคือขแมร์พื้นราบต่ำหรือศูนย์กลางเมืองพระนครและขแมร์พื้นที่สูงหรือพิมายและพนมรุ้ง สุริยวรมันที่ ๒ มีนโยบายทำสงครามขยายอาณาเขตไปที่จามและเวียตน้ำ โดยได้กลุ่มละโว้และเสียมกุกเป็นพันธมิตรสำคัญ หลังจากนั้นเมืองพระนคร ต้องทำสงครามรบพุ่งกับพวกจาม เวียตน้ำ ในยุคสมัยสุรยวรมันที่ ๒ รนับถือศาสนาพราหมณ์แต่บูชาพระวิษณุ เริ่มสร้างปราสาทนครวัตหรือปราสาทพิษณุเทวลัยที่เมืองพระนครแต่พระองค์ สวรรคตก่อนที่ปราสาทจะเสร็จ หลังสมัยสุริยวรมันที่ ๒ ถึงสมัยยโศวรมันที่๒ มีการก่อกบฏ๒ครั้งคือกบฏราหูและกบฏขุนนางโดยขุนนางนามว่า ไตรภูวนาทิตยวรมันเป็นกษัตริย์แต่ไม่นานถูกพวกจาม บุกยึดเมืองพระนคร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ชัยวรมันที่ ๗ ที่ลี้ภัยอยู่ที่ จาม ถือโอกาสเข้าช่วยขแมร์ปราบจาม และยึดอำนาจเป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิขแมร์อีกครั้ง และย้ายเมืองหลวงไปนครธม สร้าง ปราสาทนครธมที่เป็นพุทธมหายาน อีกครั้งและพระองค์ก็สนับสนุนให้ประชาชน ไพร่ ทาส นับถือพุทธเถรวาทได้และขยายเมือง ลูกหลวงที่สำคัญ คือละโว้ และสุโขทัย เพื่อเชื่อมการค้ากับผืนแผ่นดินทั่วสุวรรณทวีปและนำสู่เมืองท่าทางทะเลที่สำคัญอีกครั้ง
การเปลี่ยนแปลงระยะที่ ๓.๒
ต่อมา ภูมิตะวันตกได้มีความรู้เรื่องลมมรสุมและมีการพัฒนาเรือสำเภาที่เดินข้ามทะเลลึกได้และอาณาจักรเจ็กเริ่มแต่งสำเภาค้าข้ายด้วยตนเองจากเดิมที่ค้าขายผ่านคนกลางคืออาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นจึงเริ่มมีการแทรกแซงทางการเมืองให้แคว้นสุพรรณภูมิเข้มแข้งขึ้น และสนับสนุน อาณาจักรดินแดนเกษียรสมุทร ทำสงครามกับอาณาจักรศรีโพธิ จนกระทั่งอาณาจักรศรีโพธิและอาณาจักรลังกาสุกะ อยู่ภายใต้ การปกครองสหราชอาณาจักรศรีวิชัย และย้ายศูนย์กลางความเจริญไปที่เมืองปาเลมบังแห่งศรีวิชัย ต่อมาศรีวิชัยเสื่อมลงเกิดการแตก อาณาจักรใหญ่น้อยในคาบสมุทรแหลมทองตอนใต้ เกิดอาณาจักรตามพรลิงค์ที่เป็นเมืองท่าแห่งใหม่ที่นับถือพราหมณ์ฮินดู การเปลี่ยนแปลงภายนอกจากอนุทวีปที่สำคัญอีกประการคือการแพร่ขยายของพุทธศาสนาเถรวาท ที่แผ่มาที่อาณาจักรทวาย ตะนาวสี และเปลี่ยน อาณาจักรตามพรลิงค์สู่อาณาจักรศิริธรรมที่นับถือศาสนาพุทธ แล้วแพร่เข้ามาสู่แคว้นสุพรรณภูมิ และขยายสู่ดินแดนโซเมียเดิมที่สอดรับกับวิถีชนชั้นล่างและชนชั้นพ่อค้า พุทธศาสนาได้ทะลายชนชั้นที่ยึดติดมานานสู่การปลดปล่อย อิสระทางความคิด อิสระการดำเนินชีวิต ไม่มีการปิดกั้นระหว่างชนชั้น เปิดโอกาสให้ทาส ไพร่ เป็นอิสระ พ่อค้ากลายเป็นกษัตริย์ได้ ดังนั้นจึงเริ่มมีการเกิดการแข็งข้อ ของเมืองประเทศราช ที่เริ่มมีการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท และภายในพระนครธม พวกทาส เริ่มมีการแข้งข้อกับพราหมณ์ ขณะเดียวกันกษัตริย์เมืองพระนครเองก็ถือโอกาสใช้ศาสนาพุทธเถรวาท ลดอำนาจพวกพราหมณ์ที่มักใช้อำนาจเหนือกษัตริย์เพื่อผลประโยช์ตนและพรรคพวกวงศ์ตระกูล ในที่สุดปลายสมัยชัยวรมันที่ ๗ ภายในเกิดกบฎของพวกทาส ภายนอกเกิดกบฎอ้ายไตลาว โดย แนวร่วม พ่อขุนบางกลางหาว พ่อศรีนาวนำถม พ่อขุนผาเมือง สงครามมีชัยเหนือขอมสะบาดลำโพงแห่งละโว้ ตั้งสุโขทัยที่เป็นอิสระ จากเมืองพระนครธม ระยะต่อมาพระยาเม็งราย(เชียงแสน) ร่วมกับพระยางำเมือง(พะเยา)และพ่อขุนรามกำแหง(สุโขทัย) เกิดสนธิ สัญญา ๓ กษัตริตริย์มแบ่งแคว้นการปกครองที่อิสระต่อกันคือ สุโขทัย ล้านนา และ ชวาประเทศใหม่(เชียงทองเดิม)
การเปลี่ยนแปลงระยะที่ ๔.๑
ภายหลังที่จักรวรรดิขแมร์ เสื่อมอำนาจ อาณาจักรต่างๆทั้งใหญ่และเล็กในสุวรรณภูมิได้เป็นอิสระต่อกัน และต่างพยายาม รักษาผลประโยชน์ตนเองและก่อสงครามแย่งชิงผู้คนและอาณาเขต อย่างไรก็ตามในช่วงเวลานี้ แบ่งอาณาเขตอาณาจักรใหม่ได้ดังนี้
สุวรรณภูมิตะวันตก มีการเปลี่ยนจาก อาณาจักรพุกาม(Pagan) ขยายอำนาจและอาณาเขตในดินแดนเดิมอาณาจักรศรีเกษตรแตกเป็น อาณาจักรตองอู แถบลุ่มน้ำสาละวินและอาณาจักรมอญ ขยายอำนาจและอาณาเขตในลุ่มและอิระวดี
สุวรรณภูมิตอนใต้ อาณาจักรมัชปาหิต ที่เป็นเชื้อสายผสมผสานอินโดมลายู (เป็นชาวพื้นเมืองมลายู จามและผู้คนจากอินเดียตอนใต้คือทมิฬโจฬะอาแจะ กลิงค์) ขยายอำนาจแทนอาณาจักรศรีวิชัยครอบคลุมอาณาเขตแหลมทองตอนใต้และดินแดนเกษียรสมุทร มีศูนย์กลางอำนาจที่เกาะชบาทวีปหรือชวา มีอิทธิพลเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญ ภายหลัง อาณาจักรมัชปาหิต อ่อนแอลงทำให้เกิดอาณาจักรศิริธรรมและแคว้นปัตตานี และรัฐเล็กรัฐน้อยในแหลมทองตอนใต้หรือแหลมมลายู ในส่วน อาณาจักรศิริธรรมที่ต่อมาล่มสลายจากโรคระบาด และภายหลังได้กษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์ไศเรนทร์จากพริบพรี(เพชรบุรี) มาตั้งเมืองใหม่คือศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช) ส่วนดินแดนสุวรรณภูมิตะวันออกสุดแบ่งเป็น อาณาจักรจามทางเขตตอนใต้และอาณาจักรเวียตน้ำทางตอนเหนือ
ส่วนอาณาจักรของเชื้อสายอ้ายไตลาว ที่พูดภาษาไต-กะได แบ่งเป็น๓อาณาจักรคือดินแดนสุวรรณภูมิเหนือ อาณาจักรล้านนา ได้รวบรวมแว่น แคว้นลุ่มน้ำโขงตอนบน ลุ่มน้ำกก ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายอ้ายไตลาว ได้แก่เชียงแสน เชียงรุ่ง เชียงตุง ๑๒จุไท หริภุญชัย หิรัญเงินยาง เมืองมาว เมืองแพร่ เมืองน่าน แล้วตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่คือเชียงใหม่ ส้วนอาณาจักรล้านช้างได้รวบรวมแว่นแคว้น ลุ่มน้ำโขง ซี มูน อ้ายไตลาวเชียงทอง อ้ายไตลาวเวียงจันทน์ และแคว้นจำปาศักดิ์(เดิมรวมกันอยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบอง) และอาณาจักรล้านเพีย หรือสยาม ดินแดนของอ้ายไตลาวสายทวาราวดีหรือมอญได้รวบรวมแว่นแคว้นแม่น้ำท่าจีน หรือแม่กลอง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำป่าสัก ได้แก่สุพรรณภูมิ ละโว้ พิษณุโลก สุโขทัย พริบ พรีแ มีเมืองหลวงคืออโยธยา เรียกใหม่ว่าอาณาจักรอโยธยา เริ่มเรียกตนเองว่าคนไท
อโยธยาได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรเจ็ก ทำให้สายราชวงศ์สุพรรณภูมิครองอำนาจ ขณะที่อาณาจักรขแมร์เมื่ออ่อนกำลังลง จึงถูกล้านเพียหรืออโยธยาหรือสยาม รุกรานกลับกวาดต้อนชนชั้นปกครองกษัตริย์ พราหมณ์ มาอโยธยาและปล่อยให้พวกชาวพื้นเมืองหรือชาวบ้านที่ก่อกบฎและปราบดาตนเป็นกษัตริย์ยุคใหม่ เป็นขแมร์จตุรมุข ขแมร์ละแวก ขแมร์ศรีสุนทร และขแมร์อุดง ...
อโยธยาเป็นเมืองท่าการค้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมการค้าทางบกและทางทะเลของสุวรรณภูมิ จึงมีความมั่งคั่ง และมั่นคงด้วยขีดความสามารถทางทหารคุ้มกันการค้า และรูปแบบการปกครองที่นำมาจากจักรวรรดิ์ขแมร์ จึงขยายอำนาจอาณาเขตปกครอง ประเทศราชต่างๆได้แก่ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรขแมร์ใหม่ อาณาจักรมอญ อาณาจักรศรีธรรมราช อาณาจักรปัตตานี และไทรบุรี ทั้งนี้เพื่อคงไว้ในการควบคุมเส้นทางการค้า ทางบกและทางทะเล ...
ขณะเดียวกันอาณาจักรตองอู เริ่มเข้มแข็งจากการรบชนะอาณาจักรมอญ ยะไข่ อารกัน ผนวกรวมเป็นอาณาจักรตองอู ส่วน อาณาจักรล้านนา มีสถานะเป็นประเทศราชของตองอู และเมื่อตองอูควบคุมการค้าเมืองท่าเมาะตะมะ สู่ดินแดนตอนเหนือสุวรรณภูมิ ผ่านล้านนา จึงเริ่มมั่งคั่งและขยายอำนาจแข่งกับอาณาจักรอโยธยา ในที่สุดเมื่ออโยธยาอ่อนแอ ราชวงศ์แตกแยกจึงตกเป็น ประเทศราชตองอู แต่ไม่นานก็สามารถกลับมาเป็นอิสระและคงอำนาจไว้ได้เช่นเดิมและเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองท่านานาชาติ มีการติดต่อการค้ากับทั้งเจ็ก อินเดีย เปอร์เซีย และยุโรป ส่วนตองอูถูกมองโกลรุกรานเสื่อมลง แยกเขตตะวรนตกสุวรรภูมิ เป็นอาณาจักรอังวะและมอญ ต่อมา อังวะเริ่มเข้มแข็ง และกลับมารุกรานอโยธยา จนอโยธยาล่มสลาย แตกเป็นก๊กต่างๆ แย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดก๊กพระยาตากสิน ก็สามารถตีก๊กต่างๆ และผลักดันทหารอังวะออกจากอโยธยา แล้วตั้งอาณาจักรธนบุรีกลับมาครองอำนาจรวมล้านนา ล้านช้าง นครศรีธรรมราช ปัตตานี ไทรบุรีและขแมร์อุดง เป็นประเทศราช ต่อมาธนบุรีเกิดกบฎ สังหารพระเจ้ากรุงธนบุรี(ตากสิน) สถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์ หรือราชอาณาจักรสยามที่ควบคุมสุวรรณภูมิตอนเหนือตอนกลางและตอนใต้ ได้อย่างมั่นคง...
การเปลี่ยนแปลงระยะที่ ๔.๒
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ชนชาติยุโรปตะวันตก มีความเจริญแบบก้าวกระโดดจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ จึงมีการสร้างอาวุธ ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดกองเรือรบคู่กับกองเรือสินค้า และการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ขยายอิทธิพล อาณานิคมของยุโรป เกิดจักรวรรดิครอบครองดินแดนตะวันออกและการสำรวจดินแดนโลกใหม่ทางตะวันตก มีการแข่งขันและการ แบ่งเขตอิทธิพล ของฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกสและสเปญ ไปทั่วโลก อังกฤษยึดครองอาณานิคม เอเชียตั้งแต่ อินเดีย อัง วะ สิงคโปร์ มลายู และเจ็ก ฝรั่งเศสครอบครองล้านช้าง จาม เวียตน้ำ และขแมร์ รวมเรียกอินโดจีน โปรตุเกสครอบครองเกาะฟิลิปิ นส์ ฮอลันดาครอบครองเกาะชวา และสุมาตรา คงไว้แต่ราชอาณาจักรสยามที่เป็นรัฐกันชน และสิ่งที่พวกตะวันตกได้ทำไว้คือการแบ่ง แยกชาวอ้ายไตลาว และชาวสุวรรณภูมิเดิมที่เกี่ยวพันเป็นเครือญาติ มีวัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักยึด ให้เป็นคนเชื้อชาติ ที่แตกต่างกัน เป็นรัฐชาติ ไทยสยาม ลาว เขมร พม่า เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ในปัจจุบัน