ดินแดนโซเมียและการก่อเกิดนครรัฐ สู่ อาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิ
มิติที่ 1.1 วิกฤติรุนแรงอาณาจักรน่านเจ้า กับการแตกแยกอาณาจักรใหม่
การตั้งนครรัฐเริ่มแรกชาวอ้ายไตแบ่งเป็น ๒ สายคือ
๑.ในดินแดนตามวัฒนธรรม โซเมีย ในสุวรรณทวีปและดินแดนคาบสมุทรสุวรรณภูมิ เชื่อว่าศูนย์กลางความเจริญแบ่งเป็น ๔ ส่วนคือ ๑.ตะวันตกสุวรรณทวีปศุนย์กลางแถบลุ่มน้ำท่าจีน เจริญเป็นแคว้นอู่ทองหรือกิมหลินหรือจินหลิน ๒.ดินแดนแถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง น้ำชี และมูน เจริญเป็น สุวรรณโคมคำและศรีโครตปุระ ๓.ดินแดนแถบลุ่มน้ำโขงตอนล่างคือโตนเลสาปและปากแม่น้ำโขง เจริญเป็นแคว้นคามลังกาและแคว้นจุลนี ๔.ดินแดนคาบสมุทรแถบลุ่มน้ำตาปีและทะเลสาปสงขลา(ปัจจุบัน) เชื่อว่าเจริญเป็นแคว้นชวาทวีปและแคว้นเทียนและพัฒนาสู่อาณาจักรคีรีรัฐ (มีความเจริญก่อนที่ถูกครอบครองเป็นฟูนัน)
๒.ส่วนนครรัฐร่วมสมัยอาณาจักรบรรพชนอ้ายไตลาวแห่งลุ่มน้ำแยงซีเกียงคือ นครปา นครเงี้ยว นครลุง จนกระทั่งยุคสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี ได้ขยายอาณาจักร รุกรานไปครอบคลุมลุ่มน้ำแยงซีเกียง และชายฝั่งทะเลตะวันออก จนถึงอ่าวตั๋งเกี๋ย อย่างไรก็ตามอาณาจักรจีนไม่อาจรุกคืบลงครอบครองทางใต้เขตยูนนาน หรือเสฉวน ดังนั้น ชาวบรรพชนอ้ายไตลาวดังกล่าวจึง ร่วมกับชนเผ่าทางใต้ ร้อยพันเผ่า ตั้งนครรัฐเพงาย หนองแส ที่รวมกัน 6นครรัฐ เป็นอาณาจักรน่านเจ้า ที่บรรชนอ้ายไตลาว ได้ร่วมกับชนเผ่าอื่นๆตั้งขึ้น และมีความเข้มแข็ง ต้านการรุกรานจากจีนได้หลายร้อยปี จนกระทั่งยุค จีน 3 ก๊ก อาณาจักรน่านเจ้า แตกเหลือเพียง อาณาจักรต้าลี่ ส่วนบรรพชนอ้ายไตลาว จากน่านเจ้าได้อพยพลงใต้อีกครั้ง โดยระลอกนี้ กลุ่มที่อพยพลงมาตามลำน้ำโขง พบว่ามีอาณาจักรในดินแดนสุวรรณทวีปตอนเหนือแถบลุ่มน้ำโขงอยู่แล้ว คือสุวรรณโคมคำ และศรีโคตรปุระ พวกอพยพจึงผสานตั้งถิ่นฐานสุวรรณโคมคำและศรีโคตรปุระ เกิดเป็นอาณาจักรอ้ายลาว ณ ดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนกลางระหว่างสุวรรณโคมคำและศรีโครตรปุระ ต่อมาเมื่ออาณาจักรสุวรรณโคมคำและศรีโครตปุระ ถูกพวกเจนละ(ขอม) รุกรานจากทางใต้จนอาณาจักรสุวรรณโคมคำล่มสลาย ส่วนศรีโครตรปุระ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละ ดังนั้นชาวบรรพชนอ้ายไตลาวจึงได้ไปตั้งเป็นอาณาจักรยวนโยนกเชียงแสน(ทางเหนือ)ครอบคลุมเมืองเชียงรุ่ง เชียงตุง เมืองมาวและเชียงแสน(เงินยาง) และอาณาจักรอ้ายลาวหรือเชียงทอง ( ตอนกลางลุ่มน้ำโขง)ครอบคลุม เมืองเชียงขวางและเมืองเชียงทอง(ชวาหรือหลวงพระบาง) ส่วนชาวอ้ายไตลาวจากลุ่มน้ำโขงจากเชียงทองบางส่วนได้อพยพ สู่ลุ่มน้ำท่าจีน แม่กลองและเจ้าพระยา รวมกับชนชาวอู่ทอง เดิม ตั้งเป็นนครรัฐสุพรรณภูมิ
มิติที่ 1.2 วิกฤติรุนแรงอาณาจักรคีรีรัฐ กับการแตกแยกอาณาจักรใหม่
ในห้วงเวลาเดียวกัน ณ ดินแดนเกษียรสมุทร ได้มีคลื่นผู้อพยพจากอนุทวีปหรือชมพูทวีป ได้แก่ ชาวทมิฬ โจฬะ กลิงค์ และอาแจ๊ะ กลุ่มชนเหล่านี้ได้ผสมผสานชาวพื้นเมืองแขกดำ ยึดครองพื้นที่ดินแดนเกษียรสมุทร ซ่องสุมกำลังอาวุธต่างๆ เข้าโจมตีชุมชนบ้านเมืองในเขตปกครองชาวอ้ายไตลาวในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรเจ็กซึ่ง มีความเจริญ ในบูรพาทวีปต้องการลดอำนาจสหราชอาณาจักรเทียน จึงสนับสนุนกลุ่มกบฎดินแดนเกษียณสมุทร จนสามารถตั้งอาณาจักรโจฬะบก ณ ดินแดนตะวันออกของปากแม่น้ำโขง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ณ เกาะชบาตะวันตก อาณาจักรโจฬะน้ำ ณ เกาะชบาใน และอาณาจักรกลิงค์รัฐ ณ ดินแดนชายเกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) อีกด้านหนึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เผยแพร่ขยายพระพุทธศาสนาสู่สุวรรณภูมิแม้ว่า ยุคนี้พระพทธศาสนาจะยังไม่ฝังลึกในจิตชาวอ้ายไตลาว แต่ก็ส่งอิทธืพลในกลุ่มผู้ปกครองนครรัฐสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการปกครองแบบมหาราชา และอิทธิพลการค้าขายทางทะเลที่มีการเดินเรือสินค้าตามแนวชายฝั่งส่งผลให้ อาณาจักรในสุวรรรณภูมิเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ... โดยอาณาจักรเทียนได้มีการเปลี่ยนแปลง มีการผสมผสาน ความเชื่อผี พราหมณ์ และพุทธมหายาน มีความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ การค้าทางทะเลที่เชื่อมโยงกับผืนดินสุวรรณประเทศ สหราชอาณาจักรเทียนสน เจริญสืบต่อมา จนกระทั่งมีความเจริญสูงสุดแห่งยุคคือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ...ที่มีขุนเทียน หรือท้าวพันตา เป็นมหาราชา ...เมืองหลวงคือคีรีรัฐนครแห่งชบาทวีป ควบคุมการค้าที่ผ่านช่องแคบโพธินารายณ์ การปกครองแบบสหราชอาณาจักรของชาวอ้ายไตลาว เริ่มสั่นคลอนจากภายในที่เริ่มจาก กลุ่มพราหมณ์และพ่อค้าเริ่มแทรกแซงราชสำนักโดยมีการสร้างสัมพันธ์แบบไกล้ชิดโดยการยกลูกหลานให้แต่งงานกับมหาราชา หรือราชานครรัฐต่างๆ จนเกิดความแตกแยกในกลุ่มแว่นแคว้นนครรัฐในอาณาจักร และในสหราชอาณาจักรก็เริ่มแตกกันเป็นสายราชวงค์ต่างๆตามบรรดามเหสีขององค์มหาราชาขุนเทียน คือราชวงศ์ไศเรนทร์วงศ์ ราชวงศ์อู่ทองหรือจีนหลิน ราชวงศ์หยางโคตมะ ราชวงศ์โคตมะ ราชวงศ์ขุนหลวงจิวใหญ่ และราชวงศ์เทียนเสน จากเดิมสืบอำนาจการปกครองตามโบราณราชประเพณี เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในราชสำนักหลังรัชสมัยขุนเทียนเกิดศึกภายในแบ่งแยกเป็น๔กลุ่มคือท้าวพันวัง(สายไศเรนทร์วงศ์) ท้าวพันจัน(สายโคตมะและโจฬะบก) ท้าวเสนะราชหรือเทียนเสน (สายอ้ายไตลาวหรือเทียนเสน)และท้าวจิตเสน(สายกลิงค์โจฬะหรืออิศานปุระ)
ต่อมาท้าวพันวังสมคบกับอาณาจักรเจ็ก(ยุคซุนกวน ก็กอู๋) ก่อกบฎ ท้าวพันวังแพ้ต้องหนีไปอยู่กับพวกโจฬะน้ำหรือโจฬะแห่งเกาะชบาใน ภายหลังได้ร่วมมือกับอาณาจักรโจฬะน้ำก่อสงครามกับสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ครั้งนี้ราชวงศ์เทียนเสนพ่ายแพ้ และในที่สุดสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกเป็น สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) อาณาจักรเทียนสนและอาณาจักรนาคฟ้า(กิมหลินแห่งคีรีรัฐ) โดยสหราชอาณาจักรฟูนันนั้นราชวงศ์สายโคตมะเป็นใหญ่ มีศูนย์กลางที่ คามลังกา รวมกันกับโจฬะบกและชบาทวีป นับถีอศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ส่วนอาณาจักรเทียนสน มีสายราชวงศ์เทียนเสนเป็นใหญ่ สืบต่อสายเลือด
หลักสายชาวอ้ายไตลาว นับถือพุทธมหายาน มีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นโพธินารายณ์และอาณาจักรนาคฟ้า มีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นกิมหลิน กลุ่มอ้ายไตลาวมีอิทธิพลการค้าทางบกเชื้อมโยงภาคแผ่นดินสุวรรณภูมิทางตะวันตกคือนาคฟ้า(กิมหลิน) กับทางเหนือคืออาณาจักรโยนก ขณะที่ราชวงศ์อ้ายไตผสมกลิงค์โจฬะ (มอญ-ขอม) แห่งอาณาจักรอิสานปุระครอบครองดินแดนตอนกลางสุวรรณทวีปหรือนาคดิน เชื่อมโยงกับดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนกลางแคว้นโพธิใน(เศรษฐปุระ) ส่วนสายเลือดผสมสายอินเดีย( ทมิฬ-โจฬะ)แห่งสหราชอาณาจักรฟูนัน มีอิทธิพลการค้าทางทะเลชายฝั่ง ที่มีจุดสำคัญที่ดินแดนคาบสมุทรแหลมทองคือแคว้นโพธิ์สารแห่งอาณาจักรชวาทวีป และดินแดนแผ่นดินสุวรรณภูมิตะวันออก คือคามลังกาและโจฬะบก ภายหลังที่คีรีรัฐแตกเป็น๒อาณาจักรดังกล่าวได้เกิดสงคราม พันทีมัน ระหว่างท้าวเสนะราชหรือเทียนเสนกับท้าวพันทีมัน จนในที่สุดสหราชอาณาจักรฟูนันแตกเป็น อาณาจักรในเขตโจฬะบกแห่งสุวรรณทวีปปกครองโดยสายอ้ายไตลาว ส่วน อาณาจักรในเขตโจฬะน้ำในดินแดนเกษียรสมุทร ยังปกครองโดยสายทมิฬ-โจฬะ ทำให้สหราชอาณาจักรฟูนันภายใต้ไศเรนทร์วงศ์ อ่อนแอลง และล่มสลายต้องอยู่ภายใต้อาณาจักรเทียนสนอีกครั้ง และได้ย้ายแคว้นคีรีรัฐเดิม มาตั้งเป็นแคว้นโพธิสารแห่งอาณาจักรชวาทวีป ณ ดินแดนปากอ่าวบ้านดอนและแคว้นเทียนสนเขตช่องแคบโพธินารายณ์ รวมเป็นสหราชอาณาจักรคีรีรัฐอีกครั้ง ภายใต้ราชวงศ์เทียนเสน และมีอาณาจักรเทียนสน เป็นเมืองหลวง ส่วนพวกโจฬะล่าถอยไปร่วมกับกลุ่มทมืฬ-โจฬะ ในดินแดนเกษียณสมุทร
ต่อมาเจ้าเสนเชน สายอ้ายไตลาว ที่อยู่ในแว่นแคว้นในอาณาจักรในเขตดินแดนโจฬะบก ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสายอ้ายไตลาว ก่อสงครามกับราชวงศ์สายทมิฬ-โจฬะ ยึดโจฬะบกรวมเป็นอาณาจักรโพธิหลวง ภายใต้การปกครองราชวงศ์เทียนเสนแห่งคีรีรัฐ ต่อมาท้าวพันศรีเทพแห่งราชวงศ์สายมิฬ-โจฬะแห่งคามลังกา สมคบกับ เจ็กและโจฬะน้ำ ก่อสงครามยึดคืนพื้นที่เดิมของโจฬะบกในอาณาจักรโพธิหลวงได้สำเร็จและควบรวมเป็นอาณาจักรคามลังกา ส่วนพยากงสายเลือดผสมกลิงค์อ้ายไตลาวหรือมอญร่วมก่อตั้งอาณาจักรทวายของชนชาติกลิงค์ มอญขยายอาณาเขตเข้ามาดินแดนด้านตะวันตกของสุวรรณทวีป ยึดครองแคว้นกิมหลินและได้ร่วมมือกับอาณาจักรอิศานปุระที่ผนวกแคว้นละโว้ จัดตั้งสหราชอาณาจักรทวาราวดี ทำให้สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คงเหลือเฉพาะแคว้นโพธิสารแห่งอาณาจักรชวาทวีปและเทียนสนในส่วนดินแดนแหลมทองรวมกันเป็น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ต่อมาท้าวจิตเสนแห่งอิสานปุระเปิดศึกภายใน ณ คามลังกา โดยได้รวมกันกับพระยากงแห่งอาณาจักรทวายที่นับถือพุทธเถรวาท ยึดแคว้นละโว้เป็นอาณาจักรละไว้ที่นับถือพุทธมหายาน พราหมณ์-ฮินดู และขยายอำนาจสู่พื้นที่อาณาจักรโพธิหลวงและศรีโครตบูร เมื่อรวมกับอีสานปุระ ตั้งเป็นอาณาจักรเจนละ ที่นำศาสนาศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายมาใช้เป็นหลักปกครอง และรับระบบการเขียนจารึกของราชวงศ์ปัลลวะและราชวงศ์จาลุกยะแห่งอินเดียใต้มาใช้ด้วย มีเมืองหลวงที่เมืองภวปุระ…อาณาจักรเจนละครองอำนาจเหนืออาณาจักรอื่นๆในดินแดนสุวรรณทวีป อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ตกเป็น ประเทศราชของอาณาจักรเจนละ ส่วนอาณาจักรยวนโยนกเชียงแสนล่มสลายจากภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว ต่อมา สหราชอาณาจักรทวาราวดี ได้ถูกตีโต้กลับจากอาณาจักรศรีพุทธิแห่งคีรีรัฐ ในสงครามสมรภูมิ ๗ ตอแหล และยึดคืนกิมหลินแห่งคีรีรัฐ จับพยากงได้โดยพยากงสัญญาไม่ก่อสงคราม ยายหอมแม่นมของบุตรพยากงคือพยาพาน ได้ถวายพยาพานให้ท้าวอุเทนแห่งเทียนสน ไปเลี้ยงดูที่แคว้นเทียนสน พยาพานได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโพธินารายณ์แล้วกลับมาปกครองแคว้นเคียนซา ต่อมาพยากงผิดสัญญาร่วมมืออาณาจักรสายมอญ-ขอมคืออิศานปุระและหิรัญภุญชัย ก่อสงครามอีกครั้ง เป็นสงครามพยากงพยาพาน๑๒ ครั้ง สุดท้ายพยากงถูกฆ่าตายในสงคราม อาณาจักรทวารวดีคงเหลือแต่ในดินแดนชายฝั่งตะวันตกสุวรรณทวีปปรับเป็นอาณาจักรมอญ ทั้งนี้อาณาจักรละโว้แห่งทวาราวดีได้ยุบรวมกับกิมหลินและสายราชวงศ์ชาวอ้ายไตลาวกลุ่มเสียมกุกจากลุ่มน้ำโขงที่มีศูนย์กลางที่ราชคฤห์ รวมเป็นอาณาจักรอู่ทอง-ละโว้หรือเสียมหลอหู และในส่วนแคว้นโพธิสารแห่งอาณาจักรชวาทวีป มีความเจริญทางการค้าทางทะเลและทัพเรือเทียบเท่าพวกจามได้เปลี่ยนสู่ ยุคสมัยแคว้นศรีโพธิแห่งอาณาจักรชวาทวีปเจริญเป็นอาณาจักรศรีโพธิ์ภายใต้ไศเรนทร์ราชวงศ์ที่เป็นยุคเริ่มแรกที่ราชวงศ์ไศเรนทร์ได้ครองอำนาจเหนือทุกอาณาจักรในปกครองดินแดนคาบสมุทรและดินแดนเกษียณสมุทร รวมเป็นสหราชอาณาจักรศรีวิชัย ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงภายในอาณาจักรเจนละที่เกิดความแตกแยกภายใน เป็นเจนละบกและเจนละน้ำ โดยกลุ่มราชวงศ์อ้ายไตลาวสายมอญ-ขอมย้ายศูนย์กลางไปที่อิศานปุระและอาณาจักรอื่นๆในเขตสุวรรณภูมิตะวันออกหรือโพธิใน รวมเป็นสหราชอาณาจักรเจนละบก และส่วนอาณาจักรเจนละน้ำ ครอบครองดินแดนคามลังกาและโพธิหลวงโดยสายทมิฬโจฬะ แต่กษัตริย์อ่อนแอ ทำให้อาณาจักรศรีโคตรบองหรือศรีโคตรบูรณ์ได้แยกตัวออก ถูกและเจนละน้ำถูกรุกรานจากอาณาจักรศรีโพธิแห่งสหราชอาณาจักรศรีวิชัย และจาม จนเกิดสภาพกลียุคอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรศรีโพธิ จึงเป็นโอกาสกลุ่มพราหมณ์ศิวไกลวัลย์ และพ่อค้าจากอินเดีย กลุ่มใหม่ต้องการอำนาจคุ้มครองการค้าจึงก่อกบฎกับกลุ่มราชวงศ์เดิม สนับสนุนพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นาม ชัยวรมันที่ ๒ ผู้ที่สืบเชื้อสายท้าวพันศรีเทพที่ซึ่งถูกจับเป็นประกันในดินแดนชวาทวีปหรืออาณาจักรศรีโพธิ เริ่มต้นยุคราชวงศ์โคตรมะครองอำนาจแทนราชวงศ์อิสานปุระแห่งเจนละก่อตั้งอาณาจักรกัมพูชหรือขแมร์เริ่มแรกก่อนนำสู่ความเจริญของเมืองพระนคร สถาปนาระบบการเมืองการปกครองแบบใหม่ที่เป็นแบบเทวราช ชนชั้นกษัตริย์เป็นอวตารเทพมาปกครองโลกมนุษย์ ตั้งเป็นสหราชอาณาจักรกัมพูชาหรือขแมร์
...
มิติที่ 1.3วิกฤติรุนแรงอาณาจักรขแมร์ กับการแตกแยกอาณาจักรใหม่
ต่อมา ภูมิตะวันตกได้มีความรู้เรื่องลมมรสุมและมีการพัฒนาเรือสำเภาที่เดินข้ามทะเลลึกได้และอาณาจักรเจ็กเริ่มแต่งสำเภาค้าข้ายด้วยตนเองจากเดิมที่ค้าขายผ่านคนกลางคืออาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นจึงเริ่มมีการแทรกแซงทางการเมืองให้แคว้นสุพรรณภูมิเข้มแข้งขึ้น และสนับสนุน อาณาจักรดินแดนเกษียรสมุทร ทำสงครามกับอาณาจักรศรีโพธิ จนกระทั่งอาณาจักรศรีโพธิและอาณาจักรลังกาสุกะ อยู่ภายใต้ การปกครองสหราชอาณาจักรศรีวิชัย และย้ายศูนย์กลางความเจริญไปที่เมืองปาเลมบังแห่งศรีวิชัย ต่อมาศรีวิชัยเสื่อมลงเกิดการแตก อาณาจักรใหญ่น้อยในคาบสมุทรแหลมทองตอนใต้ เกิดอาณาจักรตามพรลิงค์ที่เป็นเมืองท่าแห่งใหม่ที่นับถือพราหมณ์ฮินดู การเปลี่ยนแปลงภายนอกจากอนุทวีปที่สำคัญอีกประการคือการแพร่ขยายของพุทธศาสนาเถรวาท ที่แผ่มาที่อาณาจักรทวาย ตะนาวสี และเปลี่ยน อาณาจักรตามพรลิงค์สู่อาณาจักรศิริธรรมที่นับถือศาสนาพุทธ แล้วแพร่เข้ามาสู่แคว้นสุพรรณภูมิ และขยายสู่ดินแดนโซเมียเดิมที่สอดรับกับวิถีชนชั้นล่างและชนชั้นพ่อค้า พุทธศาสนาได้ทะลายชนชั้นที่ยึดติดมานานสู่การปลดปล่อย อิสระทางความคิด อิสระการดำเนินชีวิต ไม่มีการปิดกั้นระหว่างชนชั้น เปิดโอกาสให้ทาส ไพร่ เป็นอิสระ พ่อค้ากลายเป็นกษัตริย์ได้ ดังนั้นจึงเริ่มมีการเกิดการแข็งข้อ ของเมืองประเทศราช ที่เริ่มมีการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท และภายในพระนครธม พวกทาส เริ่มมีการแข้งข้อกับพราหมณ์ ขณะเดียวกันกษัตริย์เมืองพระนครเองก็ถือโอกาสใช้ศาสนาพุทธเถรวาท ลดอำนาจพวกพราหมณ์ที่มักใช้อำนาจเหนือกษัตริย์เพื่อผลประโยช์ตนและพรรคพวกวงศ์ตระกูล ในที่สุดปลายสมัยชัยวรมันที่ ๗ ภายในเกิดกบฎของพวกทาส ภายนอกเกิดกบฎอ้ายไตลาว โดย แนวร่วม พ่อขุนบางกลางหาว พ่อศรีนาวนำถม พ่อขุนผาเมือง สงครามมีชัยเหนือขอมสะบาดลำโพงแห่งละโว้ ตั้งสุโขทัยที่เป็นอิสระ จากเมืองพระนครธม ระยะต่อมาพระยาเม็งราย(เชียงแสน) ร่วมกับพระยางำเมือง(พะเยา)และพ่อขุนรามกำแหง(สุโขทัย) เกิดสนธิ สัญญา ๓ กษัตริตริย์มแบ่งแคว้นการปกครองที่อิสระต่อกันคือ สุโขทัย ล้านนา และ ชวาประเทศใหม่(เชียงทองเดิม) ...