สมมติฐาน 2 รัฐแรกคือศรีโครตบูร ชาวลาวต้นกำเนิด อ้ายไตลาว (ตามประวัติศาสตร์ลาว)
แนวคิดที่ 2 มิติการบูรณาการ วิทยาศาสตร์และตำนาน พงศวดาร ตัดเรื่องความเชื่อที่เป็นอคติ
ดินแดนสุวรรณภูมิ หรือเอเชียอาคเนย์ นั้นเดิมเชื่อว่าไม่เคยมีนครรัฐหรือ อาณาจักร ของชาวอ้ายไตลาว มาก่อน เชื่อว่าอารยธรรมแรกคือ อานาจักรนามเวียต ในเขตลุ่มน้ำแดงชายทะเลอ่าวตั๋งเกี๋ย (ปัจจุบัน) อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางโบราณคดีและมนุษยวิทยาใหม่ๆ พบว่า มนุษย์ถ้ำที่ภูเลย(ประเทศลาว ปัจจุบัน) มีอายุ 4-5แสนปี จึงเชื่อว่าบรรพชนชาวอ้ายไตลาว ถือกำเนิดที่นี่ และมีการอพยพขึ้นเหนือไป ตะวันออกไกลถึงเขต นครปักกิ่ง (ปัจจุบัน) คือบรรพชน มนุษย์ปักกิ่ง และอีกสายเดินทางเคลื่อนย้ายไปทางใต้สู่ เกาะชวา ปัจจุบัน คือบรรพชนมนุษย์ชวา (ทั้งนี้เชื่อว่าในยุคน้ำแข็ง สามารถเดินทางถึงกันได้) หรืออีกนัยยะคือ อุษาคเนย์ เป็นทางผ่านมนุษย์วานร จาก ทวีปอัฟริกา แล้วแยกออกเป็น 2 สายดังกล่าว หลังจากนั้นได้มีวิวัฒนาการ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ใกล้กับทางยุโรป แต่ มีข้อแตกต่างคือ มียุคไม้ แทรก (ภูมิประเทศป่ารกทึบ) ก่อนก้าวสู่ยุคสำริด โดยพัฒนาสู่ยุคสำริดเร็วก่อน อารยธรรมอื่นๆ ของโลก ในยุคสำริดนี้ได้เริ่มมีการ อพยพจากภูเขา สู่ลุ่มน้ำ ทำการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีพิธีกรรมฝังศพ และบูชาผีบรรพบุรุษ จากหลักฐานกลองสำริด ภาพเขียนสี ขวานหิน ขวานสำริด เครื่องปั้นดินเผา การอาศัยในบ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่พบร่องรอยอารยธรรมยุคสำริด ที่บ้านเชียง บ้านโนนนกทา บ้านนาดี และดอนตาเพชร เก่าแก่กว่าทั้งจีนและอินเดีย และที่สำคัญ การขุดค้นพบหลุมฝังศพ คนโบราณ ‘ไซ-ซี-ซาน’ อายุเก่าแก่กว่า ยุคราชวงศ์ชางหรือเชียงแห่งบรรพชนคนจีน ลุ่มน้ำฮวงโห จึงเชื่อว่า บรรพชนชาวอ้ายไต มีความเจริญเป็นนครรัฐก่อนชนชาติจีนตั้งนครรัฐเริ่มแรก โดยนครรัฐร่วมสมัยอาณาจักรบรรพชนอ้ายไตลาวแห่งลุ่มน้ำแยงซีเกียงคือ นครปา นครเงี้ยว นครลุง จนกระทั่งยุคสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี ได้ขยายอาณาจักร รุกรานไปครอบคลุมลุ่มน้ำแยงซีเกียง และชายฝั่งทะเลตะวันออก จนถึงอ่าวตั๋งเกี๋ย อย่างไรก็ตามอาณาจักรจีนไม่อาจรุกคืบลงครอบครองทางใต้เขตยูนนาน หรือเสฉวน ดังนั้น ชาวบรรพชนอ้ายไตลาวดังกล่าวจึง ร่วมกับชนเผ่าทางใต้ ร้อยพันเผ่า ตั้งนครรัฐเพงาย หนองแส ที่รวมกัน 6นครรัฐ เป็นอาณาจักรน่านเจ้า
ส่วนกลุ่มอ้ายไตลาวในดินแดนสุวรรณภูมิ ระยะเริ่มแรก วิวัฒนาการตามวิถีสร้างบ้านแปงเมืองขยายตัวแว่นแคว้น ชาวอ้ายไตลาว กลุ่มพูดสำเนียงไทหรืออ้ายลาว ผสมผสานชาติพันธุ์พื้นเมืองเดิมอื่นๆในสุวรรณภูมิ เกิดเป็นอาณาจักรศรีโครตบูรณ์ ในดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
ในช่วงเวลาเดียวกัน ณ ดินแดนคาบสมุทรสุวรรณภูมิและเกษียรสมุทร ได้มีคลื่นผู้อพยพจากอนุทวีปหรือชมพูทวีป ได้แก่ ชาวทมิฬ โจฬะ กลิงค์ และอาแจะ กลุ่มชนเหล่านี้ได้ผสมผสานชาวพื้นเมืองแขกดำ ยึดครองพื้นที่ดินแดนเกษียรสมุทรและชายฝั่งทะเลหรืออนครรัฐเมือองท่าการค้าที่สำคัญ ซ่องสุมกำลังอาวุธต่างๆ สร้างเมืองท่าการค้าทางชายฝั่งทะเล นำศาสนาพราหมณ์ฮินดูและระบบกษัตริย์จากอินเดียมาตั้งนครรัฐแบบอินเดีย โดยนครรัฐแรกเรียกชื่อตามเอกสารจีน ว่า ‘ฟูนัน’ หรือนครแห่งภูเขา ที่มีราชวงศ์แห่งภูเขาปกครอง ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู จนกระทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญ ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มหาราชาแห่งอนุทวีปได้ทำสงครามขยายอาณาจักรทำให้พวกทมิฬ โจฬะยพยพมาเพิ่มสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้อพยพ ณ แดนเษียณสมุทรดังกล่าว ส่วนอีกกลุ่มชาวกลิงค์ผสมผสานกลุ่มบรรพชนมอญจากตะวันตกของจีนและชนพื้นเมืองจนสามารถตั้งอาณาจักรทวาราวดี ณ ชายฝั่งตะวันตก ส่วนชาวพยูจากทิเบตตอนใต้อพยพมาสร้างอาณาจักรศรีเกษตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือสุวรรณภูมิ
นครรัฐฟนัน ยายครอบครองอาณาเขตตั้งแต่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และอ่าวทอง ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองออกแก้ว ปากแม่น้ำโขง และมีเมืองท่าสำคัญกระจายตามลุ่มต่างๆคือลุ่มน้ำป่าสัก เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ครอบคลุมดินแดนด้านตะวันตกสุวรรณภูมิและแผ่ลงไปในแหลมสุวรรณภูมิถึงช่องแคบโพธินารายณ์ รวมทั้งยายอิทธิพลเหนืออาณาจักรศรีโครตบรณ์
ในส่วนทางดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกสุดจุดของสุวรรณภูมิเป็นเมืองท่าของชาวจาม ที่ผสมผสานชนพื้นเมืองชาวเลหรือออสโตรโพลีนีเชียน ชำนาญการเดินเรือและได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ฮินดู ด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ดินแดนเหนือสด ชาวนามเวียตกลับมาแยกตัวจากอาณาจักรจีนเป็นอาณาจักรอันนัม
จุดเปลี่ยนสำคัญ ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มหาราชาแห่งอนุทวีปได้ทำสงครามขยายอาณาจักรทำให้พวกทมิฬ โจฬะยพยพมาเพิ่มสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มนครรัฐแดนเษียณสมุทรในทะเลตะวันตก อย่างไรก็ตามอีกด้านหนึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เผยแพร่ขยายพระพุทธศาสนาสู่สุวรรณภูมิแม้ว่า ส่งอิทธืพลในกลุ่มผู้ปกครองนครรัฐสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการปกครองแบบมหาราชา และอิทธิพลการค้าขายทางทะเลที่มีการเดินเรือสินค้าตามแนวชายฝั่งส่งผลให้ เกิดอาณาจักรในคาบสมทรสุวรรรณทวีปตอนใต้ เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ... โดยได้มีการผสมผสาน ความเชื่อผี พราหมณ์ และพุทธมหายาน มีความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ การค้าทางทะเลที่เชื่อมโยงกับผืนดินสุวรรณประเทศและพัฒนาการเมืองการ ปกครองนำสู่การเป็นสหราชอาณาจักร ลังกาสุกะ
ด้านชายฝั่งตะวันตก มีความเจริญการค้าของเมืองที่กลุ่มชาติพันธุ์ต้นสายพยูหรือเพียว(Pyu) มอญโบราณ (Pegu) และพม่า (Pagan) ซึ่งอพยพจากทิเบตและตะวันตกของจีน โดยกลุ่มแรกผสมผสานชาวกลิงค์และชาวแคว้นตะเลงจากอินเดียกับชนพื้นเมืองเป็นบรรพชนชนชาติรามัญ (RaMan) ทำให้เมืองท่าด้านตะวันตกมีความเข้มแข็งขึ้นจึงแยกตัวจากอาณาจักรฟูนันเรียกว่าเป็นอาณาจักรมอญ หรือ ‘ละโว้ยุคเริ่มแรก’ นับถือพุทธศาสนาเถรวาท อันเป็นจุดเริ่มการผสมผสานวัฒนธรรมทวาราวดีที่นับถือพุทธเถรวาทและขยายอิทธิพลเพื่อรักษาเส้นทางการค้าทางบกคืออาณาจักรเงินยาง และอาณาจักรหริภุญชัย
ส่วนกลุ่มชาวพยูหรือเพียว(Pyu) ที่เป็นกลุ่มคนที่มาเจริญเป็นอาณาจักรศรีเกษตรระยะสั้นๆ และอีกกลุ่มพม่า (Pagan)คือต้นสายบรรพชนคนพม่าปัจจุบัน อพยพมาเจริญขึ้นเป็นอาณาจักรพุกาม และด้านตะวันออกอาณาจักรอันนัม เปลี่ยนสู่การมีอำนาจเหนือดินแดนแทนที่โดยอาณาจักรโดโกเวียตหรือได๋เวียต …
ส่วนดินแดนแถบลุ่มน้ำมูล น้ำชี เป็นเส้นทางการค้าสำคัญใหม่ที่เชื่อมภาคตะวันตกกับดินแดนตอนกลางกับตอนใต้ลุ่มน้ำโขงซึ่งเดิมเป็นนครรัฐที่ได้รับอิทธิพลแบบทวาราวดี ได้มีชาวทมิฬโจฬะกลุ่มใหม่ที่ผสมผสานคนพื้นเมืองและสัมพันธ์ทางเครือญาติกับละโว้ ได้ตั้งนครรัฐใหม่คือเจนละ ทีมีศูนย์กลางที่เศรษฐปุระ ตอนใต้ลุ่มน้ำโขง ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู และเริ่มนำระบบมหาราชาแบบจักรพรรดิรวมศูนย์อำนาจ มีความเข้มแข็งสามารถรุกราน อาณาจักรฟูนันออกจากดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ กษัตริย์เจนละ ท้าวจิตเสน(มเหนทรวรมัน)ก่อตั้งอาณาจักรเจนละและเจริญมาก ภายใต้ราชวง์จิตเสน ครองอำนาจแทนอาณาจักรฟูนัน
กลุ่มกษัตริย์และชาวฟูนัน ให้ถอยร่นไปดินแดนแหลมสุวรรณภูมิตอนกลางและปลายสุดแหลม ได้ผสมผสานชาวพื้นเมืองมลายูในดินแดนเกาะทอง ส่วนกลุ่มชาวทมิฬ โจฬะและอาแจะที่อาศัยดินแดนเกาะในดินแดนเกษียรสมุทร โดยกลุ่มโจฬะที่ผสมผสานชาวจามเรียกตนว่าโจฬะน้ำที่ชำนาญการเดินเรือสร้างสมความเจริญทางทัพเรือ ครอบครองเกาะบอร์เนียว ส่วนชาวอาแจ๊ะครอบครอง เกาะสุมาตรา และ ชาวกลิงค์ ทมิฬ โจฬะครอบครอง เกาะชวา ทั้งนี้ลูกหลานชาวฟูนัน(เดิม) ราชวงศ์ไศเรนทร์ ที่ดินแดนแหลมสุวรรณภูมิได้เริ่มฟื้นฟูเมืองใหม่เป็นเมืองท่าทางตะวันตก เป็นนครรัฐต่างๆ เจริญสืบต่อมาเป็น สหราชอาณาจักรศรีวิชัย
…
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงภายในอาณาจักรเจนละ แตกเป็น2อาณาจักร โดยโจฬะน้ำจากเกาะดินแดนเกษียรสมุทร ได้เข้าโจมตีอาณาจักรจามตอนใต้และรุกคืบดินแดนปากน้ำโขงและรอบๆโตนเลสาป ตั้งเป็นอาณาจักรเจนละน้ำ ทำให้กลุ่มราชวงศ์จิตรเสน ต้องถอยร่นไปเขตดินแดนลุ่มน้ำมูล น้ำชี ตั้งเป็นอาณาจักรเจนละบก....
ในส่วนอาณาจักรเจนละน้ำกษัตริย์อ่อนแอ และถูกรุกรานจากอาณาจักรชวาทวีป(ราชวงศ์ไศเรนทร์)และจาม จนเกิดสภาพกลียุคอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรชวาทวีป จึงเป็นโอกาสกลุ่มพราหมณ์ศิวไกลวัลย์ และพ่อค้าจากอินเดีย กลุ่มใหม่ต้องการอำนาจคุ้มครองการค้าจึงก่อกบฎกับกลุ่มราชวงศ์เดิม สนับสนุนพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นาม ชัยวรมันที่ ๒ ผู้ที่ถูกจับตัวเป็นประกันในดินแดนชวาทวีป ถือเริ่มต้นยุคเริ่มแรกก่อนนำสู่ความเจริญของเมืองพระนคร สถาปนาระบบการเมืองการปกครองแบบใหม่ที่เป็นแบบเทวราช ชนชั้นกษัตริย์เป็นอวตารเทพมาปกครองโลกมนุษย์ ตั้งเป็นสหราชอาณาจักรกัมพูชาหรือขแมร์
นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในอาณาจักรเจนละดังกล่าว ได้เกิดความแตกแยกภายในอาณาจักรละโว้แตกออกเป็นนครรัฐอู่ทอง นครพระธม ลพบุรี และเพชรบุรี (รวมเป็นอาณาจักรละโว้ อีกครั้งมีศูนย์กลางที่ลพบุรี ภายใต้ราชวงค์ชนชาติขอมที่เป็นเครือญาติกับขแมร์)
ทางด้านตอนเหนือสุวรรณภูมิ อาณาจักรน่านเจ้า ที่บรรพชนอ้ายไตลาว ได้ร่วมกับชนเผ่าอื่นๆตั้งขึ้น และมีความเข้มแข็ง ต้านการรุกรานจากจีนได้หลายร้อยปี จนกระทั่งยุค จีน 3 ก๊ก อาณาจักรน่านเจ้า แตกเหลือเพียง อาณาจักรต้าลี่ ส่วนบรรพชนอ้ายไตลาว จากน่านเจ้าได้อพยพลงใต้อีกครั้ง โดยระลอกนี้ กลุ่มที่อพยพลงมาตามลำน้ำโขง พบว่ามีอาณาจักรในดินแดนสุวรรณทวีปตอนเหนือแถบลุ่มน้ำโขงอยู่แล้ว คือสุวรรณโคมคำ และศรีโคตรปุระ
พวกอพยพจึงผสานตั้งถิ่นฐานสุวรรณโคมคำและศรีโคตรปุระ และเมื่ออาณาจักรสุวรรณโคมคำและศรีโครตปุระ ถูกพวกเจนละ(ขอม) รุกรานจากทางใต้จนอาณาจักรสุวรรณโคมคำล่มสลาย ส่วนศรีโครตรปุระ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละ จนกระทั่งต่อมาอาณาจักรเจนละ แตกและอาณาจักรขแมร์ ครองอำนาจแทนที่ ชาวบรรพชนอ้ายไตลาวจึงได้ไปตั้งเป็นนครรัฐยวนโยนกเชียงแสน(ทางเหนือ)ครอบคลุมเมืองเชียงรุ่ง เชียงตุง เมืองมาวและเชียงแสน(เงินยาง) และอาณาจักรอ้ายลาวหรือเชียงทอง ( ตอนกลางลุ่มน้ำโขง)ครอบคลุม เมืองเชียงขวางและเมืองเชียงทอง(ชวาหรือหลวงพระบาง) ส่วนชาวอ้ายไตลาวจากลุ่มน้ำโขงจากเชียงทองบางส่วนได้อพยพ สู่ลุ่มน้ำท่าจีน แม่กลองและเจ้าพระยา รวมกับชนชาวอู่ทอง เดิม ตั้งเป็นนครรัฐสพรรณภูมิ
ต่อมา ภูมิตะวันตกได้มีความรู้เรื่องลมมรสุมและมีการพัฒนาเรือสำเภาที่เดินข้ามทะเลลึกได้และอาณาจักรเจ็กเริ่มแต่งสำเภาค้าข้ายด้วยตนเองจากเดิมที่ค้าขายผ่านคนกลางคืออาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นจึงเริ่มมีการแทรกแซงทางการเมืองในสวรรณพ
สุวรรณภูมิตะวันตก มีการเปลี่ยนจาก อาณาจักรพุกาม(Pagan) ขยายอำนาจและอาณาเขตในดินแดนเดิมอาณาจักรศรีเกษตรแตกเป็น อาณาจักรตองอู แถบลุ่มน้ำสาละวินและอาณาจักรมอญ ขยายอำนาจและอาณาเขตในลุ่มและอิระวดี อาณาจักรตองอยายอำนาจเหนืออาณาจักรล้านนา มอญและเชียงทอง
อาณาจักรดินแดนเกษียรสมุทร อาณาจักรลังกาสุกะ อยู่ภายใต้ การปกครองสหราชอาณาจักรศรีวิชัย และย้ายศูนย์กลางความเจริญไปที่เมืองปาเลมบังแห่งศรีวิชัย ต่อมาศรีวิชัยเสื่อมลงเกิดการแตก อาณาจักรใหญ่น้อยในคาบสมุทรแหลมทองตอนใต้ เกิดอาณาจักรตามพรลิงค์ที่เป็นเมืองท่าแห่งใหม่ที่นับถือพราหมณ์ฮินดู
การเปลี่ยนแปลงภายนอกจากอนุทวีปที่สำคัญอีกประการคือการแพร่ขยายของพุทธศาสนาเถรวาท ที่แผ่มาที่อาณาจักรทวาย ตะนาวสี และเปลี่ยน อาณาจักรตามพรลิงค์สู่อาณาจักรศิริธรรมที่นับถือศาสนาพุทธ แล้วแพร่เข้ามาสู่แคว้นสุพรรณภูมิ และขยายสู่ดินแดนโซเมียเดิมที่สอดรับกับวิถีชนชั้นล่างและชนชั้นพ่อค้า พุทธศาสนาได้ทะลายชนชั้นที่ยึดติดมานานสู่การปลดปล่อย อิสระทางความคิด อิสระการดำเนินชีวิต ไม่มีการปิดกั้นระหว่างชนชั้น เปิดโอกาสให้ทาส ไพร่ เป็นอิสระ พ่อค้ากลายเป็นกษัตริย์ได้ ดังนั้นจึงเริ่มมีการเกิดการแข็งข้อ ของเมืองประเทศราช ที่เริ่มมีการนับถือพุทธศาสนาเถรวาท และภายในพระนครธม พวกทาส เริ่มมีการแข้งข้อกับพราหมณ์ ขณะเดียวกันกษัตริย์เมืองพระนครเองก็ถือโอกาสใช้ศาสนาพุทธเถรวาท ลดอำนาจพวกพราหมณ์ที่มักใช้อำนาจเหนือกษัตริย์เพื่อผลประโยช์ตนและพรรคพวกวงศ์ตระกูล ในที่สุดปลายสมัยชัยวรมันที่ ๗ ภายในเกิดกบฎของพวกทาส ภายนอกเกิดกบฎอ้ายไตลาว โดย แนวร่วม พ่อขุนบางกลางหาว พ่อศรีนาวนำถม พ่อขุนผาเมือง สงครามมีชัยเหนือขอมสะบาดลำโพงแห่งละโว้ ตั้งสุโขทัยที่เป็นอิสระ จากเมืองพระนครธม ระยะต่อมาพระยาเม็งราย(เชียงแสน) ร่วมกับพระยางำเมือง(พะเยา)และพ่อขุนรามกำแหง(สุโขทัย) เกิดสนธิ สัญญา ๓ กษัตริตริย์มแบ่งแคว้นการปกครองที่อิสระต่อกันคือ สุโขทัย ล้านนา และ ชวาประเทศใหม่(เชียงทองเดิม)
ภายหลังที่จักรวรรดิขแมร์ เสื่อมอำนาจ อาณาจักรต่างๆทั้งใหญ่และเล็กในสุวรรณภูมิได้เป็นอิสระต่อกัน และต่างพยายาม รักษาผลประโยชน์ตนเองและก่อสงครามแย่งชิงผู้คนและแบ่งอาณาเขตอาณาจักรใหม่ได้ดังนี้
อาณาจักรของเชื้อสายอ้ายไตลาว ที่พูดภาษาไต-กะได แบ่งเป็น๓อาณาจักรคือดินแดนสุวรรณภูมิเหนือ อาณาจักรล้านนา ได้รวบรวมแว่น แคว้นลุ่มน้ำโขงตอนบน ลุ่มน้ำกก ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายอ้ายไตลาว ได้แก่เชียงแสน เชียงรุ่ง เชียงตุง ๑๒จุไท หริภุญชัย หิรัญเงินยาง เมืองมาว เมืองแพร่ เมืองน่าน แล้วตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่คือเชียงใหม่ ส้วนอาณาจักรล้านช้างได้รวบรวมแว่นแคว้น ลุ่มน้ำโขง ซี มูน อ้ายไตลาวเชียงทอง อ้ายไตลาวเวียงจันทน์ และแคว้นจำปาศักดิ์(เดิมรวมกันอยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบอง) และอาณาจักรล้านเพีย หรือสยาม ดินแดนของอ้ายไตลาวสายทวาราวดีหรือมอญได้รวบรวมแว่นแคว้นแม่น้ำท่าจีน หรือแม่กลอง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำป่าสัก ได้แก่สุพรรณภูมิ ละโว้ พิษณุโลก สุโขทัย พริบพรีและมีเมืองหลวงคืออโยธยา เรียกใหม่ว่า อาณาจักรอโยธยา เริ่มเรียกตนเองว่าคนไท
อโยธยาได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรเจ็ก ทำให้สายราชวงศ์สุพรรณภูมิครองอำนาจ ขณะที่อาณาจักรขแมร์เมื่ออ่อนกำลังลง จึงถูกล้านเพียหรืออโยธยาหรือสยาม รุกรานกลับกวาดต้อนชนชั้นปกครองกษัตริย์ พราหมณ์ มาอโยธยาและปล่อยให้พวกชาวพื้นเมืองหรือชาวบ้านที่ก่อกบฎและปราบดาตนเป็นกษัตริย์ยุคใหม่ เป็นขแมร์จตุรมุข ขแมร์ละแวก ขแมร์ศรีสุนทร และขแมร์อุดง ...
อโยธยาเป็นเมืองท่าการค้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมการค้าทางบกและทางทะเลของสุวรรณภูมิ จึงมีความมั่งคั่ง และมั่นคงด้วยขีดความสามารถทางทหารคุ้มกันการค้า และรูปแบบการปกครองที่นำมาจากจักรวรรดิ์ขแมร์ จึงขยายอำนาจอาณาเขตปกครอง ประเทศราชต่างๆได้แก่ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรขแมร์ใหม่ อาณาจักรมอญ อาณาจักรศรีธรรมราช อาณาจักรปัตตานี และไทรบุรี ทั้งนี้เพื่อคงไว้ในการควบคุมเส้นทางการค้า ทางบกและทางทะเล ...
สุวรรณภูมิตอนใต้ อาณาจักรศิริธรรมที่ต่อมาล่มสลายจากโรคระบาด และภายหลังได้กษัตริย์เชื้อสายราชวงศ์ไศเรนทร์จากพริบพรี(เพชรบุรี) มาตั้งเมืองใหม่คือศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช)
ส่วนดินแดนเกษียรสมทร อาณาจักรมัชปาหิต ที่เป็นเชื้อสายผสมผสานอินโดมลายู (เป็นชาวพื้นเมืองมลายู จามและผู้คนจากอินเดียตอนใต้คือทมิฬโจฬะอาแจะ กลิงค์) ขยายอำนาจแทนอาณาจักรศรีวิชัยครอบคลุมอาณาเขตแหลมทองตอนใต้และดินแดนเกษียรสมุทร มีศูนย์กลางอำนาจที่เกาะชบาทวีปหรือชวา มีอิทธิพลเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่สำคัญ ภายหลัง อาณาจักรมัชปาหิต อ่อนแอลงทำให้เกิดอาณาจักรศิริธรรมและแคว้นปัตตานี และรัฐเล็กรัฐน้อยในแหลมทองตอนใต้หรือแหลมมลายู ส่วนดินแดนสุวรรณภูมิตะวันออกสุดแบ่งเป็น อาณาจักรจามทางเขตตอนใต้และอาณาจักรได๋เวียตทางตอนเหนือ
ขณะเดียวกันอาณาจักรตองอู เมื่อตองอูควบคุมการค้าเมืองท่าเมาะตะมะ สู่ดินแดนตอนเหนือสุวรรณภูมิ ผ่านล้านนา จึงเริ่มมั่งคั่งและขยายอำนาจแข่งกับอาณาจักรอโยธยา ในที่สุดเมื่ออโยธยาอ่อนแอ ราชวงศ์แตกแยกจึงตกเป็น ประเทศราชตองอู แต่ไม่นานก็สามารถกลับมาเป็นอิสระและคงอำนาจไว้ได้เช่นเดิมและเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองท่านานาชาติ มีการติดต่อการค้ากับทั้งเจ็ก อินเดีย เปอร์เซีย และยุโรป ส่วนตองอูถูกมองโกลรุกรานเสื่อมลง แยกเขตตะวันตกสุวรรภูมิ เป็นอาณาจักรอังวะและมอญ ต่อมา อังวะเริ่มเข้มแข็ง และกลับมารุกรานอโยธยา จนอโยธยาล่มสลาย แตกเป็นก๊กต่างๆ แย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดก๊กพระยาตากสิน ก็สามารถตีก๊กต่างๆ และผลักดันทหารอังวะออกจากอโยธยา แล้วตั้งอาณาจักรธนบุรีกลับมาครองอำนาจรวมล้านนา ล้านช้าง นครศรีธรรมราช ปัตตานี ไทรบุรีและขแมร์อุดง เป็นประเทศราช
ต่อมาธนบุรีเกิดกบฎ สังหารพระเจ้ากรุงธนบุรี(ตากสิน) สถาปนาอาณาจักรรัตนโกสินทร์ หรือราชอาณาจักรสยามที่ควบคุมสุวรรณภูมิตอนเหนือตอนกลางและตอนใต้ ได้อย่างมั่นคง...
ช่วงเวลาต่อมาเป็นช่วงที่ชนชาติยุโรปตะวันตก มีความเจริญแบบก้าวกระโดดจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ จึงมีการสร้างอาวุธ ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดกองเรือรบคู่กับกองเรือสินค้า และการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ขยายอิทธิพล อาณานิคมของยุโรป เกิดจักรวรรดิครอบครองดินแดนตะวันออกและการสำรวจดินแดนโลกใหม่ทางตะวันตก มีการแข่งขันและการ แบ่งเขตอิทธิพล ของฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกสและสเปญ ไปทั่วโลก อังกฤษยึดครองอาณานิคม เอเชียตั้งแต่ อินเดีย อังวะ สิงคโปร์ มลายู และเจ็ก ฝรั่งเศสครอบครองล้านช้าง จาม เวียตน้ำ และขแมร์ รวมเรียกอินโดจีน โปรตุเกสครอบครองเกาะฟิลิปินส์ ฮอลันดาครอบครองเกาะชวา และสุมาตรา คงไว้แต่ราชอาณาจักรสยามที่เป็นรัฐกันชน และสิ่งที่พวกตะวันตกได้ทำไว้คือการแบ่ง แยกชาวอ้ายไตลาว และชาวสุวรรณภูมิเดิมที่เกี่ยวพันเป็นเครือญาติ มีวัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักยึด ให้เป็นคนเชื้อชาติ ที่แตกต่างกัน เป็นรัฐชาติ ไทยสยาม ลาว เขมร พม่า เวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ในปัจจุบัน (ปีที่เขียน พ.ศ. 2565)