ตามคติพุทธ ความเชื่อเรื่องไตรภูมิ เป็นเทศะสถานที่สรรพสิ่งได้สถิตอยู่ภายใต้สภาวะกาลที่วนเวียนไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ที่เป็นสัจจะแห่งธรรมหรือเรียกตามหลักพุทธศาสนาคือไตรภูมิแบ่งเป็น กามภูมิ (โลกียภูมิ) รูปภูมิ (พรหมโลกขั้นต้น) และอรูปภูมิ (พรหมโลกขั้นสูง) ทั้งนี้สัตว์โลกทั้งหลายที่มาจุติแต่ละภูมิ นั้นมีขันธ์ 5 ประกอบเป็นตัวตน แต่สัตว์โลกบางจำพวกอาจมีไม่ครบ 5ขันธ์ตือไม่มีรูปกาย แต่มีตัวตนที่เป็นสสารและพลังงาน สถิตอยู่ในภพ มีการเปลี่ยนแปลงตามกฎไตรลักษณ์เช่นกัน โลกโบราณเรียกภพแห่งวิญญาณสิงสถิต อย่างไรก็ตามทั้งกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมินี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดภพชาติ หรือสังสารวัฏ พุทธคติฝายนิกายมหายาน เชื่อเรื่อง อันตรภพ คือสภาวะที่อุบัติขึ้นชั่วขณะเป็นสภาวะก่อนการจุติสู่ภพภูมิใหม่ แต่ฝ่ายเถรวาทปฏิเสธการมีอยู่ของอันตรภพ อย่างไรก็ตามทุกนิกาย มีจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือหลุดพ้นจากสังสารวัฏ สู่ โลกุตรธรรม หรือ นิพพาน
ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้ง 3 คือ กามภูมิ 11, รูปภูมิ16 และอรูปภูมิ 4 ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ 7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้ เรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า สีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล
แบ่งเป็น 16 ภูมิ
ชั้นที่ 1 - ชั้นที่ 3 รวมเรียกว่า ปฐมฌานภูม
ชั้นที่ 4 - ชั้นที่ 6 รวมเรียกว่า ทุติยฌานภูมิ
ชั้นที่ 7 - ชั้นที่ 9 รวมเรียกว่า ตติยฌานภูมิ
ตั้งแต่ชั้นที่ 10 ขึ้นไป รวมเรียกว่า จตุตถฌานภูมิ
ชั้นที่ 12 – 16 เรียกว่า ปัญจสุทธาวาส หรือ สุทธาวาสภูมิ
แบ่งเป็น 4 ภูมิ
อากาสานัญจายตนภูมิ
วิญญาณัญจายตนภูมิ
อากิญจัญญายตนภูมิ
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่
นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (บาลี: निरय, นิรย; สันสกฤต: नरक, นรก; จีน: 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; ญี่ปุ่น: 地獄, จิโกะกุ; พม่า: ငရဲ, งาเย; มลายู: neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพระยม
ตามไตรภูมิพระร่วง นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ"
นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี
ในไตรภูมิกถา
ตามจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ นรกเป็นดินแดนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุษย์โลกลงไป และมี 8 ชั้นหรือที่เรียกว่า "ขุม" สำหรับลงทัณฑ์ต่างๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิด ประกอบไปด้วยมหานรก 8 ขุม ยมโลก 320 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม และ อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม สัตว์นรกเมื่อถูกลง ทัณฑ์ทรมานแล้วก็จะเกิดขึ้นใหม่ถูกทรมานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะหมดกรรม
นรกแต่ละขุม
นรกภูมิแบ่งขุมนรกหลัก ๆ ได้เป็น 8 ขุม ดังนี้
ขุมที่ 1 สัญชีพนรก (ขุมนรกไม่มีวันตาย)
ลักษณะ พื้นเหล็กหนาถูกเผาไฟจนลุกโชน มีขอบทั้ง 4 ด้าน มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ระหว่างไฟจะมีสรรพวุธต่างๆ เช่น หอก ดาบ ฆ้อน ถูกเผาไฟจนลุกแดงและคมจัด สัตว์นรกวิ่งพล่าน เท้าเหยียบไฟ ร่างกายถูกเผา สรรพวุธฟัน แทง สับ ทุบ สัตว์นรกเจ็บปวดทรมาน ร้องครวญครางดิ้นเร่าๆ ร่างกายสัตว์นรกฉีกขาด แล้วมาต่อกันใหม่โดยทันที ทรมานต่อไปไม่มีวันตาย
อายุขัย 500 ปี 1วัน = 9 ล้านปีมนุษย์
ความผิดบาปคือ เป็นโจรปล้นทำลายทรัพย์สิน ผู้มีอำนาจข่มเหงผู้ต่ำต้อยกว่า
ขุมที่ 2 กาฬสุตตะนรก (ขุมนรกด้ายดำ)
ลักษณะ มีกำแพงและพื้นเหล็กถูกเผาไฟลุกโชน นายนิริยบาลจะจับเอาสัตว์นรกนอนลง ใช้เส้นบรรทัดที่ทำด้วยสายเหล็กแดงลูกเป็นไฟ มาดีดร่างกายของสัตว์นรก ตามยาวบ้าง ตามขวางบ้าง แล้วนำเลื่อยบ้าง ขวานบ้าง มีดโต้บ้าง มาสับ ฟัน เลื่อยตามรอยที่ดีดไว้ ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส
อายุขัย 1,000 ปี 1 วัน = 36 ล้านปีมนุษย์
ความผิดบาปคือ ฆ่านักบวช ภิกษุ สามเณร ผู้ทุศีล อลัชชี
ขุมที่ 3 สังฆาฏนรก (ขุมนรกภูเขาขยี้กาย)
ลักษณะ มีกำแพงและพื้นเหล็กถูกเผาไฟลุกโชน มีภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟ 2 ลูก กลิ้งไปมาเข้าหากันบดขยี้ร่างสัตว์นรกจนแหลกเหลว แล้วฟื้นขึ้นมาใหม่ รับทุกข์ทรมานต่อไป สัตว์นรกตนใดวิ่งหนี ก็จะถูกนายนิริยบาลตีบ้าง แทงบ้าง ฟันบ้าง ตลอดเวลา
อายุขัย 2,000 ปี 1 วัน = 145 ล้านปีมนุษย์
ความผิดบาปคือ เป็นพรานนก พรานเนื้อ หรือพวกที่ชอบทรมาน เบียดเบียนสัตว์ที่ตนใช้ประโยชน์ เช่น วัว ควาย โดยขาดความเมตตาสงสาร
ขุมที่ 4 โรรุวะนรก ( ขุมนรกแห่งเสียงหวีดร้อง )
ลักษณะ มีกำแพงเหล็ก 4 ด้าน ไฟลุกโชน ยิ่งลึกยิ่ร้อน ตรงกลางขุมมีดอกบัวเหล็ก กลีบเหล็กมีไฟพุ่งออกมาตลอดเวลา สัตว์นรกถูกบังคับให้ขึ้นไปอยู่ในดอกบัว กรรมทำให้สัตว์นรกยืนขึ้นแล้วก้มตัวลงกลีบบัวงับหนีบสัตว์นรก ส่วนหัวถึงคาง ขาถึงข้อเท้า มือถึงข้อมือ ไฟเผาร่างอยู่ตลอดเวลา สัตว์นรกเจ็บปวดทรมานส่งเสียงร้องครวญครางดังยิ่งนัก
อายุขัย 4,000 ปี 1 วัน = 576 ล้านปีมนุษย์
ความผิดบาป พวกเมาสุราอาละวาด ทำร้ายร่างกาย พวกเผาไม้ ทำลายป่า พวกกักขังสัตว์ไว้ฆ่า ชาวประมง
ขุมที่ 5 มหาโรรุวะนรก ( ขุมนรกแห่งเสียงหวีดร้องอย่างหนัก )
ลักษณะ มีดอกบัวขนาดใหญ่ ไฟร้อนจัดยิ่งกว่าขุมก่อน กลีบบัวคมเป็นกรดมีอยู่ทั่วไป ระหว่างช่องว่างมีแหลนหลาว ปักชูปลายแหลม ขึ้นลุกเป็นไฟ นายนิริยบาล่จะบังคับไล่แทงให้ขึ้นไปบนดอกบัว สัตว์นรกทั้งหลายร้อน ดิ้นทุรนทุรายไปกระทบกลีบบัว กลีบบัวบาดตัดร่างสัตว์นรกล่วงลงมา ถูกแหลนหลาวแทงรับไว้ เนื้อของสัตว์นรกร้อนลุกเป็นไฟหล่นลงสู่พื้น และมีสุนัขนรกคอยกัดแทะกินจนหมดสิ้น สัตว์นรกก็จะก่อร่างขึ้นใหม่ รับทุกขเวทนาร้องโหยหวนดังยิ่งกว่าขุมก่อน
อายุขัย 8,000 ปี 1 วัน = 2304 ล้านปีมนุษย์
ความผิดบาป พวกลักเครื่องสักการบูชา ขโมยทรัพย์สมบัติของ พ่อแม่ ครูอาจารย์ หรือภิกษุสามเณร นักบวชต่าง ๆ
ขุมที่ 6 ตาปะนรก (ขุมนรกแห่งความเร่าร้อน)
ลักษณะ กำแพง 4 ด้าน พื้นเป็นเหล็กแดงฉาน ไฟพลุ่งโชนสว่างมากไร้เปลว ไฟละเอียดและร้อนจัดมีแหลนหลาวใหญ่เท่าลำตาล ไฟลุกโชนพุ่งมาเสียบสัตว์นรกและเอาขึ้นตั้งไว้ พอไฟไหม้เนื้อหนังหล่นลงมา ก็จะถูกสุนัขนรกตัวใหญ่เท่าช้าง เที่ยวไล่กัดแทะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็เกิดเป็นสัตว์นรกใหม่ ต้องทุกข์ทรมานร้องระงมเซ็งแซ่ไปหมด
อายุขัย 1,600 ปี 1 วันนรก = 9,236 ล้านปีมนุษย์
ความผิดบาป พวกเผาบ้านเผาเมือง เผาโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ
ขุมที่ 7 มหาตาปะนรก (ขุมนรกแห่งความเร่าร้อนยิ่ง)
ลักษณะ มีไฟคล้ายแสงสว่าง มีความร้อนสูงมาก พุ่งมาจากกำแพงเหล็กรอบด้านมารวมกันตรงกลาง มีภูเขาเหล็กตั้งอยู่กลางขุมนรก มีไฟพุ่งเข้าพุ่งออกจนเผาเป็นเหล็กแดงฉาน นายนิริยบาลบังคับให้สัตว์นรกป่ายปีนขึ้นไปบนยอดเขา พอใกล้ถึงยอดเขา สัตว์นรกทนไม่ไหว ร่วงหล่นลงมา ก็จะถูกแหลนหลาวที่ปักเอาไว้รอบข้างแทงเข้า ไฟไหม้ท่วมร่าง
อายุขัย 1/2 กัป (กัลป์)
ความผิดบาป พวกมิจฉาทิฏฐิบุคคล เห็นผิดเป็นชอบ ไม่รู้จักสิ่งดีมีประโยชน์ ปฏิเสธเรื่องบุญ เรื่องบาป เห็นว่าตายแล้วสูญ ทุกสิ่งทุกอย่างเที่ยง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำแต่ทุจริตกรรม
ขุมที่ 8 อเวจีมหานรก (ขุมนรกแห่งร้อนไม่มีเว้นว่าง)
ลักษณะ มีกำแพงเหล็กปิดเฉพาะตัวทั้ง 6 ทิศ มีหลาวเหล็กแทงสัตว์นรกทะลุตรึงร่างให้ยืนกางแขนขา โดยจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง จำนวนหลายสิบเล่ม จนสัตว์นรกไม่สามารถขยับตัวได้เลยแม้แต่น้อย ถูกแผดเผาอยู่ตลอดเวลา จนกระดูกแดงฉาน จำนวนสัตว์นรกในขุมนี้ มีมากกว่าทั้ง 7 ขุมรวมกัน
อายุขัย 1 กัป (กัลป์)
ความผิดบาป พวกทำบาปหนักที่เป็นอนันตริยกรรม ได้แก่ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้พระพุทะเจ้าห้อพระโลหิต ทำสังฆเภท คือ ยุยงให้สงฆ์แตกกัน พวกทำลายพระพุทธรูป ต้นศรีมหาโพธิ์ พวกติเตียนพระอริยสงฆ์
พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ
อรูปพรหม (ฉบับกรุงศรี)
พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม
รูปพรหม หรือ รูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่พระพรหมผู้วิเศษมีรูป หากแต่เป็นรูปทิพย์ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถ มองเห็นได้ จักเห็นได้ก็โดยทิพยวิสัยเท่านั้น ประกอบด้วยวิมาน 16 ชั้น
ชั้นที่ 1 - ชั้นที่ 3 รวมเรียกว่า ปฐมฌานภูมิ ด้วยพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยปฐมฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
ชั้นที่ 4 - ชั้นที่ 6 รวมเรียกว่า ทุติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยทุติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
ชั้นที่ 7 - ชั้นที่ 9 รวมเรียกว่า ตติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยตติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
ตั้งแต่ชั้นที่ 10 ขึ้นไป รวมเรียกว่า จตุตถฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยจตุตถฌาน ชั้นที่ 10-11 ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะห่างไกลกันมาก
หากแต่เฉพาะเหล่าพระพรหมในชั้นที่ 12 – 16 เรียกว่า ปัญจสุทธาวาส หรือ สุทธาวาสภูมิ อันเป็นชั้นที่เหล่าพระพรหมในชั้นนี้ ต้องเป็นพระพรหมอริยบุคคลในพุทธศาสนา ระดับอนาคามีอริยบุคคล เท่านั้น ต่างจาก 11 ชั้นแรก แม้พระพรหมทั้งหลายจะได้สำเร็จฌานวิเศษเพียงใด ก็อุบัติในสุทธาวาสภูมิไม่ได้อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ 5 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิไม่ตั้งในระดับเดียวกันเช่นชั้นแรกๆที่ผ่านมา
ปฐมฌาณภูมิ3
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นบริวารแห่งท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรก เป็นพรหมชั้นล่างสุด ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึง 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ คือไกลจากมนุษยโลกจนไม่สามารถนับได้ ซึ่งหากเอาก้อนศิลาขนาดเท่าปราสาทเหล็ก (โลหปราสาท) ทิ้งลงมาจากชั้นนี้ ยังใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะตกถึงแผ่นดิน พระพรหมในที่นี้มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย มีอายุแห่งพรหมประมาณส่วนที่ 3 แห่งมหากัป (1 ใน 3 แห่งมหากัป) มีท้าวสหบดีพรหม เป็น พรหมบดี
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นปุโรหิต (อาจารย์ใหญ่) ของท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า พรหมทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณครึ่งมหากัป
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ พรหมโลกชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้นไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1 มหากัป
ทุติยฌาณภูมิ3 (ฉบับกรุงศรี)
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2 มหากัป มีท้าวจตุรพักตร์หรือธาดาพรหม เป็นพรหมบดี
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีรุ่งเรืองหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4 มหากัป มีท้าวมหาอัฐปาลพรหม เป็นพรหมบดี
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีเป็นประกายรุ่งเรือง พรหมโลกชั้นที่ 6 อาภัสสราภูมิ เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8 มหากัป มีท้าวมาลีวราช เป็นพรหมบดี
"...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภัสสรา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข เธอมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา เถิด เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น อาภัสสรา ฯ..." (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๖ ข้อที่ ๗๒๖)
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16 มหากัป
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้รัศมีสง่างามหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 32 มหากัป
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามสุกปลั่งทั่วสรรพางค์กาย พรหมโลกชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนาได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 64 มหากัป
"....ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่า หนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหกะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔...." (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๔๘๐)
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป
อนึ่งผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 9 ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่า มีผลไพบูลย์เต็มที่ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาวธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น พรหมภูมิ 3 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำนั้น พรหมภูมิ 6 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลมนั้น พรหมภูมิทั้ง 9 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปไม่มีเหลือเลย
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาทแก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมาดังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว จักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป
อวิหาสุทธาวาส อตัปปาสุทธาวาส
ชั้นนี้เป็นที่เกิดของพระอนาคามี
ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ ( *ผู้ได้สมาบัติที่ 9 ไม่ใช่ตติยมรรค )
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติแห่งตน สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลที่ไม่ละทิ้งสมบัติ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดานน้อยมาก ด้วยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลจะสถิตย์อยู่จนอายุครบกำหนด ไม่จุติเสียก่อน ต่างจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก 4 ภูมิ คือพระพรหมในอีก 4 สุทธาวาสภูมิที่เหลือ ซึ่งอาจมีการจุติหรือนิพพานเสียก่อนอายุครบกำหนด มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1000 มหากัป
ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้ละซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ฉะนั้นจิตใจของท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็นได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิริยินทรีย์ คือมี วิริยะแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2000 มหากัป
สุทัสสาสุทธาวาส สุทัสสีสุทธาวาส
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้ง สูงขึ้นไปต่อจากอตัปปาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความแจ่มใส สามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยแจ้งชัดเพราะบริบูรณ์ ด้วยประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ธัมมจักษุและปัญญาจักษุ จึงเห็นสภาวธรรมได้แจ่มใส ชัดเจน ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีสตินทรีย์ คือมี สติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4000 มหากัป
ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้งยิ่ง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า มีประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ทั้ง 3 นี้มีกำลังแก่ กล้ากว่าพระพรหมในสุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ทำให้ท่านมีความเห็นในสภาวธรรมได้ชัดเจนแจ่มใสยิ่ง ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรค ให้บังเกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มี สมาธินทรีย์ คือมีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8000 มหากัป
ทุสสะเจดีย์ ชั้นอกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ทรงคุณพิเศษไม่มีใครเป็นรอง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสีสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีวาสนาบารมี มีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยนักหนาโดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์ คือมี ปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น ฉะนั้น ท่านพระพรหมอนาคามีบุคคลที่อุบัติเกิดในอกนิฏฐพรหมโลกนี้ จึงมีคุณสมบัติวิเศษยิ่งกว่า บรรดาพระพรหมทั้งสิ้นในพรหมโลกทั้งหลายรวมทั้งสุทธาวาสพรหมทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16000 มหากัป
พรหมโลกนี้ มีพระเจดีย์เจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นพรหมโลกที่เคารพนับถือพระบวรพุทธศาสนา องค์หนึ่งมีนามว่า ทุสสะเจดีย์ ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช โดยพระพรหมทั้งหลายได้นำบริขารและไตรจีวรลงมาถวาย และพระองค์ได้ถอดผ้าขาวที่ทรงอยู่ยื่นให้ พระพรหมจึงรับเอาและนำมาบรรจุไว้ยังเจดีย์ที่นฤมิตขึ้นนี้ และเป็นที่สักการบูชาของพระพรหมทั้งหลายในปัจจุบัน
พระพรหมอนาคามีทั้งหลายในสุทธาวาสพรหมแรกทั้ง 4 หากยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และละสังขารเข้าสู่นิพพาน พอสิ้นพรหมายุขัย ก็ต้องจุติจากสุทธาวาสพรหมภูมิที่ตนสถิตอยู่มาอุบัติในชั้นที่ 16 นี้ เพื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานโดยทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมินี้ เป็นพรหมภูมิที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ อย่างประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นๆ ทั้งหม
อรูปพรหม หรือ อรูปาวจรภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา บรรดาโยคี ฤๅษี ชีไพรดาบส ที่บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา รำพึงว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้ ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย ปรารถนาอยู่แต่ในความไม่มีรูป
อรูปภูมิมี 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตเจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยู่นั้นจะมีแต่โทษ อาจจะไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึ่งเป็นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัปป์ จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีกได้ อายุของพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น หกหมื่น และแปดหมื่นสี่พันกัปป์ ตามลำดับ
อรูปพรหม (ฉบับกรุงธน)
ชั้นที่ทรงอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอา อากาศ เป็นอารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่แห่งพระพรหม ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่พ้นจากอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 20000 มหากัป
ชั้นที่ทรงภาวะวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึด วิญญาณ เป็นอารมณ์ พ้นจากอากาสานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณบัญญัติ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต มีอายุแห่งพรหมประมาณ 40000 มหากัป
ชั้นที่ทรงภาวะไม่มีอะไรเลย ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอาความไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิตพ้นจากวิญญานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 60000 มหากัป
ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ในทัศนะนี้แปลว่า ยังไม่หมด ยังมีอยู่ แต่ไม่มาก ไม่ยึดมั่นเหมือนปถุชนทั่วไป) เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 84000 มหากัป
ผู้ที่เกิดเป็นอรูปพรหมนั้นไม่มีรูปขันธ์ 1 มีเพียงนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จึงไม่มีอวัยวะร่างกายใดๆ แต่มีความรู้สึกนึกคิดในฝ่ายนามธรรม (มีผู้บรรยายว่า สภาวะของอรูปภพ มีทั้งข้อดีกับข้อเสีย ข้อดีก็คือจะไม่มีอายตนะห้าประการคือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายมากระทบหรือไม่รับรู้อะไร มีแต่จิตเจตสิกที่รับอากาศเป็นอารมณ์รับรู้ ไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่แต่อาศัยปลีกวิเวก และอยู่เสวยสุขได้นานหลายกัปจนนับประมาณไม่ได้ แต่ข้อเสียก็คือจะไม่สามารถสื่อสารกับใครหรือพบเห็นอะไรเลย นอกจากนั้นจะไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลยตอนที่ยังเป็นอรูปพรหมเพราะไม่มีอายตนะห้าประการเป็นตัวรับรู้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (แต่มีปรากฏในหลักฐานปริยัติว่า ผู้ที่ได้ถึงพระนิพพานในลำดับแรก คือ โสดาปัตติผล สามารถเจริญวิปัสสนาต่อในอรูปภพต่อจนถึงความเป็นพระอรหัตผลได้)) นอกจากนั้นเมื่อได้สิ้นกาลอายุขัยก็จะต้องลงไปเกิดในกามาวจรภูมิ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่จบไม่สิ้นอีกครั้งด้วยอำนาจกิเลส ในอรูปภพนี้ไม่มีปรากฏในหลักฐานทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดจะเสด็จขึ้นมาโปรดเหล่าอรูปพรหมที่อรูปาวจรภูมินี้เลย เรื่องนี้มีกล่าวไว้ในพุทธประวัติว่า อสิตดาบสได้ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะกุมารว่าเมื่อเจริญวัยก็จะเสด็จออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดีใจ แต่ก็คิดได้ว่าตัวเองชราภาพมากก็คงไม่ได้มีโอกาสได้อยู่ดูและฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แม้จะละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพหรมก็ไม่สามารถฟังธรรมได้เลยจึงร้องไห้ หรือหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตัดสินพระทัยว่าจะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ก็ทรงระลึกถึงอุทกดาบสและอาฬารดาบสผู้เคยเป็นพระอาจารย์สอนวิชาสมาบัติแก่พระพุทธองค์ ที่สามารถจะเข้าใจฟังธรรมได้แต่ก็น่าเสียดาย เพราะดาบสทั้งสองก็ได้ละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพรหม พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถไปโปรดดาบสทั้งสองได้เลย